สมุนไพรแก้พิษสัตว์มีพิษกัดต่อย
บทคัดย่อ
สัตว์มีพิษในประเทศไทยมีหลายชนิด
ช่วงฤดูฝนและในภาวะฉุกเฉินกรณีน้ำท่วมมักเกิดเหตุการณ์สัตว์เลื้อยคลานมีพิษกัดต่อย
สัตว์ที่มีพิษอันตรายที่โดนกัดต่อยบ่อย คือ งู ตะขาบและแมงป่อง
เหตุการณ์งูพิษกัด ตั้งแต่ปี 2546-2555 มีประชาชนที่ถูกงูพิษกัดเฉลี่ยปีละ 7,723 ราย
พบมากที่สุดในภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ (TNN สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์, 2557)
ปัจจุบันใช้เซรุ่มแก้พิษงูกัดและเซรุ่มจำกัดการใช้ในสถานบริการทางการแพทย์
ตะขาบและแมงป่องแม้พิษไม่ถึงตายแต่สร้างความเจ็บปวดทรมานเป็นอย่างมาก
สมุนไพรแก้พิษสัตว์มีพิษกัดต่อยที่มีการใช้ได้ผลในอดีตได้ถูกบันทึกลงในตำรายาไทย
จากการรวบรวมสมุนไพรแก้พิษสัตว์มีพิษกัดต่อยจากทั้งหมด 7 ตำรา
ตัวอย่างเช่น ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม ๓ ตำรายาสมุนไพรหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า
สมุนไพรใช้แก้พิษงู ตะขาบและแมงป่อง 53 set
ใช้สมุนไพรทั้งหมด 82 ชนิด ตัวอย่างเช่น เสลดพังพอน ผักเสี้ยนผี โลดทะนงแดง เขยตาย โคกกระออม นาคราชและดีปลี
36 setแก้พิษงู ,7 setแก้ได้ทั้งพิษงู ตะขาบและแมงป่อง , 9 setแก้พิษตะขาบและแมงป่องและ 1 setแก้พิษตะขาบกัด
ใช้ทั้งsetและสมุนไพรเดียว
กรรมวิธีทำยา 5 วิธี คือ ตำ บด ฝน ขยำ ต้ม
การใช้มี 4 วิธีคือ กิน พอก ทา ชโลม
น้ำละลาย คือ น้ำสุรา น้ำมะนาว น้ำซาวข้าวและอื่นๆ
โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จ.สุรินทร์ใช้การดูแลผู้ป่วยถูกงูพิษกัดร่วมกับการใช้สมุนไพรของหมอพื้นบ้านเพื่อรักษาผู้ป่วยงูพิษกัด
มีการวิจัยสารเคมีในรากโลดทนงสามารถไปยับยั้งประสิทธิภาพการทำงานของพิษงูเห่าได้
แสดงว่าสมุนไพรที่ใช้แก้พิษจากสัตว์มีพิษกัดต่อยนั้นใช้ได้ผลจริง
เราสามารถปลูกไว้ใช้เองได้ สะดวก ราคาถูก
สมุนไพรเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามากมายมหาศาลควรส่งเสริมให้ใช้และอนุรักษ์ต่อไป
คำสำคัญ: สมุนไพรแก้พิษ,สัตว์มีพิษ