1. ความสำคัญและที่มาของหัวข้อวิจัย
ปัจจุบันการประปา สาขาหาดใหญ่ ประสบปัญหาคุณภาพน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปามีปริมาณแอมโมเนียสูง โดยแอมโมเนียในน้ำดิบมักจะอยู่ในรูปแบบของแอมโมเนียมไอออน ไม่เพียงแต่เพิ่มความต้องการใช้สารคลอรีนในปริมาณมาก เพื่อใช้ในการควบคุมการปนเปื้อน ทำให้สิ้นเปลืองปริมาณการใช้สารคลอรีน ส่งผลให้ค่าต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของ trichloramine ซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็ง เมื่อมีการใช้ร่วมกับคลอรีน และยังเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นคลอรีนในน้ำประปา (Kasuga และคณะ, 2010) นอกจากนี้การใช้สารเคมีในปริมาณมากเพื่อควบคุมการปนเปื้อนของแอมโมเนียยังก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาคือ น้ำประปาขุ่น มีสีคล้ำหรือสีแดง-เหลือง (การประปาส่วนภูมิภาค, 2558)
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเพื่อหาวิธีการการกำจัดแอมโมเนียในน้ำดิบจากคลองอู่ตะเภาซึ่งจะนำมาใช้ในการผลิตน้ำประปา
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
- เครื่องก๊าซโครมาโตกราฟ (gas chromatograph, GC-ECD) ผลิตภัณฑ์ Hewlette Packard รุ่น HP 6890
- เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (UV-visible spectrophotometer) ผลิตภัณฑ์ Shimadzu รุ่น UV 1601
- เครื่องวัดปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอน (TOC analyzer) รุ่น TOC-VCSH
- เครื่องปั๊มดูดสุญญากาศ (vacuum pump) ผลิตภัณฑ์ Gast รุ่น 0823-101
- เครื่องกวนของเหลว (Jartester) ผลิตภัณฑ์ Phipps & Bird รุ่น PB 700TM
- เครื่องวัดการนำไฟฟ้า (conductivity meter) ผลิตภัณฑ์ WTW รุ่น LF 323
- เครื่องวัดพีเอช (pH meter) ผลิตภัณฑ์ Russel รุ่น 150
- เครื่องวัดความขุ่น (turbidimeter) ผลิตภัณฑ์ HACH รุ่น 2100N
- เครื่องกวน (stirrer) ผลิตภัณฑ์ Framo รุ่น M 21/1
- เครื่องมือ (Soxhlet extraction)
- ตู้ดูดควัน (hood) ผลิตภัณฑ์ Major supper flow fume cupboard
- ตู้ดูดความชื้น (desiccator) ผลิตภัณฑ์ Electoronic hygrostat
- ตู้บ่ม (Incubator)
- แผ่นกรอง GF/F (Whatman) ขนาดรูเปิด 0.7 μm
- เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer)
- เครื่องผลิตโอโซน (Ozone generator) สามารถให้อัตราการผลิตโอโซน 250 mg/hr.