จดหมายสอบถาม (Enquiry Letter) คือ จดหมายที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเพื่อขอดูตัวอย่างสินค้า หรือเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ตนสนใจ ดังนั้นการเขียนจดหมายจึงควรระบุให้ชัดเจนว่าต้องการทราบข้อมูลส่วนไหนเพิ่มเติม เช่น เงื่อนไขและส่วนลด เงื่อนไขการส่ง วิธีขนส่ง การประกันสินค้า การจ่ายเงิน เป็นต้น การเขียนเนื้อหาควรกระชับ ตรงประเด็นและอ่านเข้าใจง่าย
ส่วนประกอบของการเขียนจดหมายสอบถาม
1. Replying to an advertisement หรือ Opening
เป็นส่วนของการเขียนเปิดประเด็น หรือเปิดจดหมาย ซึ่่งจะอยู่ส่วน paragraph แรกของการเขียนจดหมาย มักใช้เขียนบอกที่มาที่ไปว่าเราทราบข่าวหรือรู้จักสินค้านี้จากไหน ตัวอย่างประโยคที่ใช้ เช่น
We have seen your advertisement in Bangkok Post of 20 May, 2010.
เราได้เห็นโฆษณาของคุณในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสลงวัยที่ 20 พฤษภาคม 2010
I have come across your advertisement in Bangkok Post about your LCD TV.
ผมได้เจอโฆษณาของคุณที่ลงในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสโดยบังเอิญเกี่ยวกับทีวี LCD
We have seen your sample of ......ตัวสินค้า... at the ....ที่แสดงสินค้า...
Thank you for the brochure and price list you have sent to us about your ...ชื่อสินค้า...product.
We have seen your advertisement in Bangkok Post and learn that you are one of the major manufacturers of home furniture.
2.Introducing your company or your work
ส่วนนี้จะเขียนต่อจากส่วน Opening เป็นการเขียนแนะนำบริษัทของตนเอง หรือแนะนำงานของตนเอง นิยมเขียนเฉพาะเป็นการติดต่อกันเป็นครั้งแรก แต่หากมีการติดต่อครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้องเขียนส่วนนี้ก็ได้เพราะรู้จักมักคุ้นกันดีแล้ว ตัวอย่างประโยค เช่น
We are one of the largest importers of software in Thailand, and we would like to stock the latest manufactures of this type.
เราเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าซอฟแวร์รายใหญ่ของประเทศไทย และเราอยากเก็บสินค้าซอฟแวร์รุ่นล่าสุดไว้ในสต็อกของเรา
We are one of the largest dealers in quality furniture in Bangkok and wish to expand our rang of stocks.
เราเป็นผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์คุณภาพรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในกรุงเทพ และทางเรามีความประสงค์จะขยายจำนวนสินค้าให้มากขึ้นด้วย
3.Requesting
เป็นส่วนที่ใช้บอกว่า เราต้องการทราบรายละเอียดอะไรบ้างเกี่ยวกับสินค้าที่เราสนใจนั้นๆ เช่น สี ราคา เงื่อนไข การขนส่ง เป็นต้น เราต้องเขียนในสำนวนแบบขอข้อมูล ไม่ใช่คำสั่ง การเขียนภาษาอังกฤษต้องระวังเรื่องนี้ด้วยนะครับ ตัวอย่างประโยคเช่น
Would you please send me information on the ...สินค้า..? I would like to know when ...สินค้า.. will be available and how much it will cost.
กรุณาส่งข้อมูลเกี่ยวกับ..สินค้า...มาให้ทางผมด้วยได้ไหมครับ ผมต้องการทราบด้วยว่าเมื่อไหร่..สินค้า..จะวางจำหน่าย และราคาจะประมาณเท่าไหร่ครับ
Could you please provide us with more details about their size, quality, prices etc. and please send us samples through your representative?
กรุณาจัดส่งรายละเอียดเกี่ยวกับขนาด คุณภาพ ราคา เป็นต้น ของสินค้า และกรุณาส่งตัวอย่างสินค้ามากับตัวแทนฝ่ายขายของคุณด้วยนะครับ
Could you please send us information on your ...ชื่อสินค้า..? Would you also include a price list and details of quantity discounts?
4. Closing หรือ Polite Expression
เป็นส่วนของคำลงท้ายจดหมาย ซึ่งต้องใช้ประโยคที่สุภาพ ตัวอย่างเช่น
We look forward to hearing from you soon.
เรากำลังรอคำตอบจากคุณอยู่
Thank you for your attention. I look forward to your prompt reply.
ขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ ผมกำลังรอคอยคำตอบจากคุณอยู่
Your early reply would be appreciated.
คำตอบของคุณยิ่งเร็วยิ่งทำให้เราดีใจ
I look forward to receiving your reply.
ผมกำลังรอคำตอบจากคุณอยู่
Thank you for an early reply.
ขอบคุณที่ตอบกลับอย่างรวดเร็ว
Thank you for your assistance I look forward to hearing from you.
I should be obliged to you for your assistance in this matter.
ผมจะขอบคุณมากถ้าคุณให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้