ในแต่ละวันบุคคลจะมีอารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาจจะเป็นความพึงพอใจ ความโกรธ ความร่าเริง ความเจ็บปวด ความผิดหวัง เพราะตลอดเวลาที่บุคคล อยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง บุคคลจะอยู่ภายใต้สิ่งเร้า และประสบการณ์ ที่เขามีอยู่ทำให้อารมณ์แปรเปลี่ยนไปมา ซึ่งอารมณ์ในลักษณะดังกล่าวนี้จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ของบุคคล
อารมณ์ มีความหมายว่าการเกิดการเคลื่อนไหว หรือภาวะที่ตื่นเต้น มันเป็นการยากที่จะบอกว่า อารมณ์ คืออะไร แต่มีแนวคิดหนึ่ง ที่ให้ความเข้าใจได้ง่ายกล่าวไว้ว่า อารมณ์เป็นความรู้สึกภายในที่เร้า ให้บุคคลกระทำ หรือเปลี่ยนแปลงภายในตัว ของเขาเอง ซึ่งความรู้สึก เหล่านี้จะเป็นความรู้สึกที่พึงพอใจ ไม่พึงพอใจ หรือรวมกันทั้งสองกรณี อารมณ์เป็นสิ่งที่ไม่คงที่มีการแปรเปลี่ยน อยู่ตลอดเวลา สมองมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของประสาทเพื่อสั่งการให้เกิดการเรียนรู้ แล้วการเรียนรู้ก็จะส่งผลให้เกิดอารมณ์ต่างๆ สมองส่วนที่ทำหน้าที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆขึ้น คือ สมอง ส่วนที่สองเรียกว่า ลิมบิกเบรน (Limbic brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) คือ สมอง ของ สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม สมัยเก่า ก็คือ สมอง ส่วน ฮิปโปแคมปัส เทมโพราลโลบ และบางส่วนของ ฟรอนทอลโลบ ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับ ความจำ การเรียนรู้ พฤติกรรม ความสุข อารมณ์ขั้นพื้นฐาน ความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ หรือ มีความสุข เศร้า หรือ สนุกสนาน รัก หรือเกลียด สมอง ส่วนลิมบิก จะทําให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้โลกได้ กว้างขึ้น เป็นสมอง ส่วนที่สลับซับซ้อน มากขึ้น ทําให้คนเรา มีความสามารถใน การปรับตัว ปรับ พฤติกรรมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ถ้าหากมี สิ่งกระตุ้น ที่ไม่ดีเข้ามา สมอง ส่วนนี้จะ แปลข้อมูล ออกมาเป็น ความเครียด หรือไม่มีความสุข อารมณ์สุข คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความสบายใจ หรือ ได้รับความสมหวัง และ อารมณ์ทุกข์ คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่สบายใจ หรือ ได้รับความไม่สมหวัง อารมณ์พื้นฐานของคนเรา ได้แก่ โกรธ กลัว รังเกียจ แปลกใจ ดีใจ และเสียใจ ซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานที่มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัมพันธ์กับ การทำงานของระบบลิมบิก (limbic system)ในสมองส่วนกลาง ในคนเรานั้นพบว่ายังมีการทำงานของสมองส่วนหน้าบริเวณ prefrontal มาเกี่ยวข้องด้วย โดยมีการเชื่อมโยงกับระบบ ลิมบิกที่ซับซ้อนจึงทำให้คนเรามีลักษณะ อารมณ์ความรู้สึก ที่หลายหลากมากกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
โดยภาพรวมกล่าวได้ว่า อารมณ์และแรงจูงใจเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาอย่างเด่นชัด สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นอิสระของกันและกัน แต่มีโอกาส ที่จะมาเชื่อมโยงกันได้อย่างใกล้ชิดเสมอ อารมณ์สามารถที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ เหมือนเป็นผู้ที่จูงใจ สามารถที่จะกระตุ้น เมื่อพฤติกรรมการจูงใจมีอุปสรรค