ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้า เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และยังคงดำเนินต่อไป อย่างต่อเนื่อง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่คุ้มค่าและไม่สูญเสียทรัพยากร คือ การศึกษาจากสิ่งที่เราสามารถสังเกต ได้รอบตัวในชีวิตประจำวันนำเข้าสู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ได้แนวความคิดใหม่เพื่อประยุกต์ใช้ให้ เกิด ประโยชน์ได้อีก ซึ่งวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันนั้นพบได้หลากหลายแขนง ในที่นี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถพบได้อย่างมากมาย อาทิเช่น ในห้องครัว ปฏิกิริยาเคมีตัวอย่างที่จะกล่าวนี้คือ ปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard reaction) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างกรดอะมิโน (amino acid) กับน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) ที่ทำให้เกิดสารที่มีสีน้ำตาลและมีกลิ่นหอม จากการศึกษาค้นคว้านั้นสารที่ได้จาก ปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard reaction) สามารถรีดิวซ์ไอออนของโลหะให้กลายเป็นโลหะที่สามารถนำไฟฟ้าได้
จากการศึกษาข้างต้น คณะผู้จัดทำจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาปฏิกิริยาเมลลาร์ดในการรีดิวซ์ Cu(II) ให้ได้เป็น Cu(0) ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าได้โดยทำการศึกษาสารตั้งต้นของปฏิกิริยานี้คือ ชนิดของกรดอะมิโน (amino acid) ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและตัวเร่งปฏิกิริยาต่างๆ เพื่อให้สามารถรีดิวซ์ Cu(II) ให้ได้เป็น Cu(0) ในปริมาณ มากที่สุด และใช้สารละลาย Polystyrene ใน Acetone กระตุ้นให้ Cu(0) สามารถนำไฟฟ้าได้ ซึ่งสามารถนำไป ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และเป็นการศึกษาที่สามารถต่อยอดอีกได้