ภาวะอ้วนเป็นปัญหาสำคัญของผู้อยู่ในวัยแรงงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ภาวะอ้วนสามารถควบคุมและป้องกันได้ด้วยการควบคุมอาหาร ซึ่งอาหารที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะอ้วนในสังคมไทยมีมากมายทั้งของคาว ของหวานและเครื่องดื่ม ยากที่จะทำให้ควบคุมได้ อาจเนื่องจากขาดแรงจูงใจในการละ ลด เลิกอาหารที่ชอบ การศึกษานี้จึงต้องการหาความสัมพันธ์ของแรงจูงใจเชิงป้องกันกับพฤติกรรมการควบคุมอาหารของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร 174 คน ที่ทำงานงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ในปี พ.ศ. 2557 ข้อมูลเก็บด้วยการส่งแบบสอบถามให้ตอบ และวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรส้น ผลาการศึกษาพบว่า
บุคลกรที่ศึกษาเป็นผู้หญิงร้อยละ 54.6 และเป็นผู้ชายร้อยละ 45.4 อายุเฉลี่ย 44.8 ปี ส่วนมากร้อยละ 71.8 มีสถานภาพสมรสคู้ จบการศึกษาสูงสุดปริญญาตรีและสูงกว่าร้อยละ 61.5 ที่เหลือจบต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 38.5 เป็นข้าราชการร้อยละ 50.0 ลูกจ้างประจำร้อยละ 26.4 พนักงานราชการ 16.7 และลูกจ้างชั่วคราวร้อยละ 6.9 ในกลุ่มงานบริหารทั่วไปร้อยละ 24.7 พัฒนาวิชาการ ร้อยละ 21.8 ปฏิบัติการควบคุมโรคและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินร้อยละ 28.2 ที่เหลืออยู่ในกลุ่มงานอื่นๆ มีโรคประจำตัวร้อยละ 13.8 มีการตรวจโรคประจำปี ร้อยละ 85.1 และพบว่า มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินร้อยละ 63.8
บุคลากรมีแรงจูงใจเชิงป้องกันภาวะอ้วนเฉลี่ยร้อยละ 80.5 โดยรับรู้ความรุนแรงเฉลี่ยร้อยละ 80.2 รับรู้โอกาสเสี่ยงเฉลี่ยร้อยละ 75.9 คาดหวังประสิทธิผลเฉลี่ยร้อยละ 80.6 และคาดหวังความสามารถตนเองเฉลี่ยร้อยละ 78.5 บุคลากรมีพฤติกรรมการควบคุมอาหารในระดับมากร้อยละ ระดับปานกลางร้อยละ และระดับน้อยร้อยละ แรงจูงใจเชิงป้องกันกับพฤติกรรมการควบคุมอาหารของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์สัมพันธ์กันเชิงบวก ทั้งโดยรวมและแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้ จึงความเสริมแรงจูงใจเชิงป้องกันภาวะอ้วนให้บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้มากขึ้น