- ป้อมเพชร-
ป้อมเพชร เป็นป้อมที่มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ เพราะเป็นป้องที่สามารถป้องกันศัตรูได้ดี ป้อมเพชรตั้งอยู่ตรงหัวมุมของพระนครด้นทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณแม่น้ำบางกะซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน ทำให้เกิดเป็นลานน้ำวนขนาดใหญ่จุดนี้จึงใช้เป็นที่จอดเรือสินค้า จึงเป็นตลาดขนาดใหญ่ชาวบ้านเรียกว่า "ตลาดน้ำวนบางกะ" จึงทำให้ตั้งชื่อตำบลฝั่งตรงข้ามว่า "ตำบลสำเภาล่ม" เป็นความนัยถึงน้ำวนหน้าป้อมปราการ ป้อมก่อด้วยอิฐสลับกับศิลาแดงหนา ๑๔ เมตร สร้างขึ้นตามแบบอย่างตะวันตก เป็นป้อมปืนใหญ่ยื่นออกไปจากแนวกำแพง มีใบเสมา ส่วนที่แสดงถึงความเป็นตะวันตกคือช่องคูหาครึ่งวงกลม
-พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ-
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเป็นฉบับที่มีการยอมรับว่าน่าเชื่อถือที่สุดโดยกล่าวว่า "ศักราช ๙๑๑ ระกาศก (วันเสาร์ ขึ้น ๑o ค่ำ เดือน ๒ พ.ศ. ๒o๙๒) ครั้นนั้นได้ให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยา ตรงกับสมัยสมัยพระมหาจักรพรรดิ์เจ้า โดยรอบกำแพงพระนครนั้นให้แต่งป้องเพชรและหอรบระยะไกลกันทุกๆ ๒o วา (๔o เมตร) วางปืนใหญ่ระยะ ๑o วา (๒o เมตร) ปืนปะเหลี่ยมจ่ารงมณฑกระยะ ๕ วา (๑o เมตร) และก็ให้ตั้งค่ายไปตามริมน้ำอีกชั้นหนึ่ง และไว้ปืนปะเหลี่ยมจ่ารงมณฑกสำหรับค่ายนั้น แล้วให้ตั้งหอโทนกลางริมน้ำออกไป ๕ วา (๑o เมตร) รอบพระนครเพื่อไม่ให้ฆ่าศึกนำเรือเข้ามาใกล้อยุธยาได้
-กำแพงอยุธยา-
กำแพงเมืองที่พระเจ้าอู่สร้างครั้งแรกนั้นเป็นเพียงเชิงเทินดินธรรมดาและมีเสาไม้ระเนียดปักข้างบน ต่อมาจึงก่อด้วยอิฐและปูนโดยสร้าป้อมต่างๆ อาทิ ป้อมเพชร ป้อมมหาไชย ป้อหอราชคฤห์ ป้อมจำปาพล และป้อมซัดกบ ป้อมขนาดใหญ่มักตั้งอยู่ทางแยกระหว่างแม่น้ำ เช่นป้อมเพชรอยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน ป้อมมหาไชย ตั้งอยู่มุมวังจันทรเกษมบริเวณที่เป็นตลาดหัวรอในปัจจุบัน แต่ตัวป้อมได้ถูกรื้อเพื่อนำอิฐปสร้างพระนครใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ กำแพงเมืองทั้งหมดยาว ๑๒.๕ กิโลเมตร หนา ๕ เมตร สูง ๖ เมตรมีประเมือง ๑๘ ประตู ประตูช่องกุด(ประตูเล็ก) ๖๑ ประตู ประตูน้ำ ๒๑ ประตู รวมทั้งสิ้น ๙๑ ประตู ป้อมปราการ ๒๙ ป้อม ปัจจุบันเหลือไม่กี่้อมที่ยังคงสภาะเดิม