1.สภาการพยาบาลมีนโยบายเกี่ยวกับ AEC อย่างไร คืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร
สภาการพยาบาลมีการกำหนดนโบบายแบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์โดยเริ่มจาก
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการผลิตกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนไทยทุกคน และผู้รับบริการตามนโยบาย Medical Hub และแรงงานต่างชาติตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียน ดังนี้
ยุทธวิธีที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศสมาชิกอาเซียน วางแผนกำลังคน กำลังติดตามประเมินความต้องการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเมินผลกระทบต่อบริการสุขภาพ
ยุทธวิธีที่ 2 การส่งเสริมการผลิตพยาบาลและผดุงครรภ์ให้มีปริมาณและคุณภาพและความสามารถตามสมรรถนะที่กำหนด สมรรถนะพยาบาลอาเซียน สมรรถนะการพยาบาล การพยาบาลเฉพาะด้าน และการพยาบาลขั้นสูง
ยุทธวิธีที่ 3 การผลักดันให้มีการปรับปรุงหลักสูตรการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทุกระดับให้ครอบคลุมเนื้อหาและทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษาถิ่นของประเทศสมาชิก สังคม วัฒนธรรม และสุขภาพอาเซียน
ยุทธวิธีที่ 4 ส่งเสริมศักยภาพอาจารย์ทางด้านภาษาอังกฤษ และภาษาถิ่นของประเทศสมาชิก
ยุทธวิธีที่ 5 ส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษ และภาษาถิ่นของประเทศสมาชิก
ยุทธวิธีที่ 6 ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาร่วมกับสถานบริการสุขภาพศึกษาวิจัยการแลกเปลี่ยนทั้งทางวิชาการและการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน
ยุทธวิธีที่ 7 ส่งเสริมให้สถาบันและนักศึกษาเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายนานาชาติ เช่น เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network: AUN)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมให้หน่วยบริการพยาบาลมีศักยภาพและความพร้อมในการให้บริการสุขภาพประชาคมอาเซียนและนานาชาติ ดังนี้
ยุทธวิธีที่ 1 สร้างระบบ กลไก กลวิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ระบบสุขภาพอาเซียนและการมีส่วนร่วมในประชาคมอาเซียนร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง
ยุทธวิธีที่ 2 การส่งเสริมให้ผู้บริหารการพยาบาลทุกระดับทั้งภาครัฐ เอกชน และทั้งในสถาบันการศึกษาและสถานบริการสุขภาพทุกระดับให้มีสมรรถนะผู้นำอาเซียนตามที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด โดยการเข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรฯที่กำหนด
ยุทธวิธีที่ 3 พัฒนาระบบการจัดการความรู้และข้อมูลระบบบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศ และประชาคมอาเซียน
ยุทธวิธีที่ 4 สร้างมาตรการและแรงจูงใจให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีการพัฒนาความสามารถในการให้บริการพยาบาลตามมาตรฐานสากล และการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธวิธีที่ 5 ส่งเสริมให้หน่วยบริการพัฒนานโยบายภาวะผู้นำ โครงสร้าง มาตรฐาน การประกันคุณภาพบริการ และการบริหารจัดการระบบการบริการสุขภาพประชาคมอาเซียนและนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรวิชาชีพพยาบาลทุกระดับในการดำเนินงานในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้
ยุทธวิธีที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรวิชาชีพทางการพยาบาลให้เป็นผู้นำทั้งด้านการศึกษา การบริการ การบริหาร การวิจัย ในยประชาคมอาเซียน
ยุทธวิธีที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละองค์กรพยาบาลนั้นๆ
ยุทธวิธีที่ 3 การปรับปรุงและพัฒนานโยบาย/กฎหมาย ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) สำหรับการเข้ามาประกอบวิชาชีพของพยาบาลต่างด้าว และสำหรับการไปประกอบวิชาชีพในประเทศประชาคมอาเซียน
ยุทธวิธีที่ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความรู้สุขภาพอาเซียนในประเด็นสำคัญ อาทิ การติดตามประเมินผลกระทบเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเสรีด้านบริการสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพ ค่าใช้จ่ายการเข้าถึงบริการสุขภาพ ความต้องการและความคาดหวังด้านสุขภาพอาเซียน เป็นต้น
ผลกระทบต่อวิชาชีพคือ
ข้อดี
1.พยาบาลมีความรู้ ศักยภาพมากขึ้น พร้อมดูแลผู้รับบริการ
2.พยาบาลมีความเพียงพอต่อความต้องการของสังคม
3.มีการพัฒนาขององกรค์วิชาชีพพยาบาลให้ทันสมัยต่อสภาพการณ์ปัจจุบัน
ข้อเสีย
1.มีการออกไปทำงานในต่างประเทศของพยาบาลมากขึ้นจากการที่ประเทศต่างๆต้องการพยาบาลที่มีคุณภาพ
2.อาจเกิดพยาบาลล้นตลาดจากการที่เร่งผลิตพยาบาลมากเพื่อให้เพียงพอกับการเปิดประชาคมอาเซียน