ไคติน-ไคโตซานเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนหมึก ผนัง เซลล์ของเห็ดรา สาหร่ายและจุลินทรีย์อีกหลายชนิด อย่างไรก็ตามไคติน-ไคโตซานที่ผลิตออกมาเพื่อเชิงพาณิชย์จะได้จาก เปลือกกุ้ง กระดองปูและแกนหมึกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนหมึกเหล่านี้จะมีปริมาณมากและเป็นกากเสีย จากอุตสาหกรรมอาหาร การศึกษาวิจัยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับไคติน-ไคโตซานที่ได้จากเปลือกกุ้งและ กระดองปู แต่ด้วยเหตุ ที่ประเทศไทยก็มีศักยภาพในการผลิตหรือการนำไคติน-ไคโตซานจากแกนหมึกมาใช้ ประโยชน์เช่นกัน ดังนั้นจึงอยากบอกเล่า ข้อมูลของไคโตซานจากแกนหมึกให้ผู้อ่านได้ทราบบ้าง ในแง่มุมการผลิต แกนหมึกก็เป็นกากเหลือของอุตสาหกรรมอาหาร เช่นเดียวกันกับเปลือกกุ้ง และกระดองปู ดังนั้นราคาวัตถุดิบจึงถูกอย่างไม่ต้องสงสัย
นอกจากนี้ ขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการ ผลิตก็จะใช้กรด-ด่าง และสภาวะที่มีความรุนแรงน้อยกว่ากระบวนการผลิตไคติน - ไคโตซานจากเปลือกกุ้ง และกระดองปู เนื่องจากแกนหมึกมีหินปูน (calcium carbonate) และเม็ดสี (carotenoids) ซึ่งยาก ต่อการกำจัดน้อยกว่าเปลือกกุ้งและกระดองปู ดังนั้น ไคติน-ไคโตซานที่ได้จากแกนหมึกจึงควรมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า และมีคุณภาพที่ดีกว่าไคติน- ไคโตซานจากเปลือกกุ้งและกระดองปู