ระบบการเรียนการสอนในประเทศไทย ระดับคุณภาพการศึกษาที่ค่อนข้างต่ำ และเนื้อหาที่เรียนก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในสังคม ระบบการศึกษาได้รับการพัฒนามาตลอด แต่ยังไม่สามารถบรรลุผลตามที่กำหนดไว้ เพราะยังมีปัญหาด้านคุณภาพของผลผลิต ด้านการกระจายโอกาสทางการศึกษา ด้านการบริหารการศึกษา และด้านการระดมสรรพกำลังเพื่อจัดการศึกษา ระบบการจัดการเรียนการสอนจะใช้วิธีการบรรยายโดยอาจารย์หรือวิทยากร แต่การศึกษาของประเทศอังกฤษจะแตกต่างอย่างชัดเจน ผู้สอน/อาจารย์/วิทยากรหรือเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้เปิดประเด็นและให้นักเรียนสนทนากันในหัวข้อที่จะบรรยาย
คุณจะต้องร่วมสนทนาและถกเถียงกันในชั้นเรียนไม่ใช่แค่นั่งจดตามอาจารย์อย่างเดียว สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับนักเรียนไทยก็คือการถกเถียงกับเพื่อนร่วมห้อง/อาจารย์และเสนอความคิดเห็นที่คุณไม่เห็น
ประเทศอังกฤษ เราจะพบว่าห้องเรียน 1 ห้อง มีเด็กมากที่สุดเพียง 10 เท่านั้น ครูกับนักเรียนจึงใกล้ชิด และมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น โดยครูที่นี่จะต้องเข้าใจนักเรียน ต้องรู้ว่าจะอธิบายเนื้อหาแต่ละบทให้นักเรียนแต่ละคนเข้าใจได้อย่างไร และจะต้องวัดความเข้าใจของเด็กด้วยการตั้งคำถาม แล้วให้พวกเขาแสดงความคิดเห็น วิธีนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถ และศักยภาพทางความคิดอย่างเต็มที่ เด็กนักเรียนที่นี่จึงมักจะแย่งกันตอบคำถาม แย่งกันแสดงความคิดเห็น และสามารถรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างเข้าใจได้
วิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างย่อมนำมาซึ่งทักษะที่แตกต่าง เด็กที่มีพื้นฐานการเรียนรู้มาจากความคิดสร้างสรรค์มักจะมีทักษะและประสบความสำเร็จในการทำสิ่งต่างๆ มากกว่าเด็กที่ขยันคิดวิเคราะห์เพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าระบบการศึกษาของไทยส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดต่าง หรือคิดนอกกรอบบ้าง เด็กไทยก็คงจะกล้าคิดสิ่งใหม่ๆ กล้าทำอะไรที่แตกต่างมากขึ้น และถ้าหากการศึกษาไม่ใช่เครื่องมือทางเศรษฐกิจ ผู้เรียนไม่ใช่แรงงาน มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นโรงงานที่ผลิตบัณฑิตออกมาเพื่อแข่งขันกันหาเงินอย่างเช่นทุกวันนี้แล้วนั้น คนไทยก็คงจะเครียดและเห็นแก่ตัวน้อยลง ประเทศชาติก็คงจะพัฒนาไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่