ประเทศอินโดนีเซีย
ระบำบารอง Barong Dance
ละครบารอง หรือ บาร็อง ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะเดียวกับโขน และละครหุ่นบ้านเรา คือใช้หน้ากาก และเชิดหุ่นเป็นตัวละคร รวมทั้งมีการใช้ดนตรีเล่นสดประกอบการแสดง
เรื่องราวของละครบารองเล่าถึงความเชื่อของชาวบาหลีที่มีต่อเทพเจ้า มหาภารตะ “บารอง” หรือสิงโตเทพเจ้าแห่งฝ่ายธรรมะและจิตวิญญาณที่ดีงาม และ “รังดา” ร่างอวตารของพระอุมา ตัวแทนแห่งวิญญาณของความชั่วร้ายฝ่ายอธรรม ทั้งสองฝ่ายต่างต่อสู้กัน เมื่อบางรองเพลี้ยงพล้ำต่อรังดา ก็มีเหล่านักระบำกริชที่แต่งกายด้วยการห่มผ้าขาวม้าลายตารางออกมาช่วยเหลือบารอง เข้าต่อสู้กับรังดา แต่ด้วยเวทมนตร์ของรังดาทำให้กริชของเหล่านักระบำกลับหันเข้าจ้วงแทงนักระบำกริชเอง แต่โชคดีที่เทพ “การูด้า” เทพแห่งนกเข้ามาช่วยได้ทันการณ์ ช่วยให้นักระบำกริชฟันแทงไม่เข้า ไม่ว่ากริชจะจ้วงแทงกี่ครั้ง ก็ไม่สามารถทำร้ายนักระบำกริชได้ ฝ่ายธรรมะจึงขนะฝ่ายอธรรมะไปได้ในที่สุด จากตำนานนี้เองที่ทำให้เชื่อกันว่าการห่มคลุมผ้าขาวม้าจะช่วยเพิ่มพลัง อาชีพนักระบำก็ถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ต้องฝึกฝนกันตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อสามารถแสดงออกมาได้อ่อนช้อยงดงาม การระบำแล้วเหลือกตาซ้ายขวาก็มีนัยะแฝงถึงการ “มองฟ้า” เท่ากับเคารพเทพเจ้า และ “มองดิน” เท่ากับบูชาฑูตผี
ระบำบารอง มีหลายเรื่องราวหลายตอนของตำนาน รามายาณะ ที่ถูกนำมาสร้างสรรค์ แสดงท่าทาง เรื่องราวจะเกี่ยวการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายดี และปีศาจ "บารอง" ตัวแทนฝ่ายดีเป็นคนครึ่งสิงห์ ส่วน "รังดา" มารร้าย เป็นพ่อมดหมอผีฝ่ายอธรรม มีผู้แสดงประกอบเป็นสมุนของทั้งสองฝ่ายอีกหลายตัว ซึ่งจะต่อสู้กันจนฝ่ายธรรมะได้รับชัยชนะในที่สุด
ตัวละครลิงสหายของบารอง ภูติผี ชาวบ้าน ส่วนหุ่นเชิดคือตัวบารอง หรือเทพสิงโต เทพในศาสนาฮินดู ที่สิงห์หรือเสือ จะแทนเครื่องหมายของความดี หุ่นสิงโตของละครบารองมีลักษณะคล้ายการเชิดหุ่นสิงโตของจีน คือ ต้องใช้นักเชิด 2 คน อยู่ในส่วนหัวและส่วนท้ายของหุ่น การจัดเวทีแสดงออกถึงเอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรมของบาหลีได้อย่างชัดเจน ทั้ง ประตูที่ให้ในการแสดงจะเป็นหินสลักรูปต่างๆ การจัดฉากพื้นหลังเป็นป่าตามโคลงเรื่อง และใช้ดอกไม้สดพื้นเมืองในการประดับเวทีและตกแต่งร่างกายของนักแสดง ในการพกอาวุธอย่าง “กริช” ไว้ที่เอวของนักแสดงชายยังสามารถบ่งบอกยศศักดิ์ของตัวละครได้อีกด้วย ก่อนแสดงจะต้องมีการทำพิธีบูชาเทพเจ้า แสดงถึงลักษณะประเพณีวัฒนธรรมของความศรัทธาในการนับถือศาสนาฮินดูอย่างเหนียวแน่นของชาวบาหลี