1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ
1.7.1 สุขภาพองค์การ (Organizational Health) คือ สภาพของ
องค์การที่เกิดจากสภาวะการปฏิบัติงานตามภารกิจและความรับผิดชอบขององค์การ ทำให้องค์การมีความพร้อมที่จะคงอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้องค์การพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
(1) ด้านการมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ การที่บุคลากรในองค์การเข้าใจ
และยอมรับเป้าหมายขององค์การ และเป้าหมายนั้นต้องมีความเป็นไปได้และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
(2) ด้านการสื่อสารอย่างเหมาะสม คือ การที่องค์การมีการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพทั้งภายนอกและภายในองค์การ และมีข้อมูลข่าวสารพร้อมเสมอในการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ
(3) ด้านการใช้อำนาจในทางที่ดี คือ การที่องค์การมีการใช้อำนาจ
อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในทุกระดับขององค์การ
(4) ด้านการใช้ทรัพยากรบุคคล คือ การที่องค์การใช้ทรัพยากรอย่างมี
ประสิทธิภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคลมีการใช้ที่เหมาะสมและบุคลากรมีความรู้สึกที่ดีต่องาน อีกทั้งยังรู้สึกว่าองค์การสนับสนุนให้มีการเรียนรู้และมีความก้าวหน้า
(5) ด้านการมีสามัคคีในกลุ่ม คือ การที่พนักงานในองค์การมีความเป็นน้ำ
หนึ่งใจเดียวกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเคารพซึ่งกันและกัน
(6) ด้านขวัญกำลังใจภายในองค์การ คือ การที่บุคลากรมีความรู้สึกที่ดีต่อ
องค์การมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
(7) ด้านนวัตกรรมในการทำงาน คือ การที่องค์การมีการพัฒนา และสร้าง
ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆมาเปลี่ยนแปลงตัวเองแทนที่จะหยุดนิ่งกับที่
(8) ด้านความมีอิสระ คือ การเปิดตัวของตัวเอง มีอิสระในการตอบสนอง
ความต้องการของสิ่งแวดล้อม
(9) ด้านความสามารถในการปรับตัว คือ การมีความสามารถใน
การปรับตัวอย่างรวดเร็ว มีความมั่นคง ทนต่อความยุ่งยากของกระบวนการปรับตัว
(10) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา คือ การที่องค์การมีความสามารถ
แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
1.7.2 ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)
คือ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้บังคับบัญชาในการจูงใจ กระตุ้น ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการรู้สึกยอมรับ เปลี่ยนแปลงค่านิยม และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากเกินกว่าที่คาดหวังไว้ ประกอบด้วย
(1) การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ (Idealized Influence) คือ การที่ผู้นำมี
อิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของผู้ตาม
(2) การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational Motivation) คือ
ความสามารถของผู้นำในการจูงใจให้ผู้ตามเชื่อมั่นต่อศักยภาพในการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ความสำเร็จ
(3) การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) คือ ความสามารถ
ของผู้นำในการสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ตามมีอิสระและอำนาจในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ ในการทำงาน
(4) การตระหนักถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration)
คือ การที่ผู้นำให้ความสนใจดูแลผู้ตามในฐานะผู้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อองค์การ รวมไปถึงการพัฒนาสนับสนุน ขัดเกลาพฤติกรรมอันมีจุดเน้นที่ความต้องการ ความสนใจและศักยภาพที่แตกต่างกันของผู้ตามในแต่ละบุคคล