รฟท ขอบคุณผู้ยื่นซื้อซอง จำนวน 15 ราย ประกอบด้วย หลัก 6 รายทำอยู่ ณ ปัจจุบัน และ 3 รายทำท่าเรือแหลมฉบัง และ อื่นๆ (รายชื่อผู้ซื้อแจก ณ วันนั้น)
มีคำถามประมาณ 100 คำถาม โดย SSS ส่งมา 56 คำถาม
คำถามเป็นการตอบเบื่องต้น และคำถามใดที่ยังตอบไม่ได้ จะมีประชุมวันที่ 21 สิงหาคม 58 นี้ และจะส่งให้กรรมการพิจารณา
เริ่มที่ SSS
1. จะมีกรณีใดบ้างที่ รฟท จะไม่คืนหลังประกันซอง
ตอบ ตามข้อ 10.2 และ 5.2 วรรคท้าย
2. เอกสารข้อเสนอรวมลงทุนระบุให้ผู้รับเลือกปรับปรุงสินทรัพย์ ตามภาคกำหนด ก. ให้สามารถใช้การได้ตามปกติ เช่น อาคาร 7 อาคาร สำนักงานให้อยู่ในสภาพปกติ หมายความว่า ผู้ประกอบการรายใหม่ไม่สามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนอาคาร ตามรูปแบบการใช้งานที่ติดตั้งไว้แล้ว ใช้หรือไม่ที่
ตอบ คือได้รับมอบไปตามสภาพที่เห็นอยู่ ถ้าท่านมีความประสงค์อยากจะปรับเปลี่ยน อาคารหลังใด หรือพื้นที่ตรงใหนที่ท่านอย่างจะสร้างเพิ่มขออนุมัติเป็นกรณีๆ ไป เช่น SSS ขออนุญาตสร้างอาคารคลังสินค้าหลังที่สองขึ้นมา เป็นต้น หรืออาคารที่ไม่มีความจำเป็นจะขอทุบทิ้ง ก็ขอเป็นกรณีๆ ไป โดย รฟท จะพิจารณาให้ตามเหตุผลที่เสนอ
3. รฟท จะช่วยผู้ประกอบการรายใหม่ในการยื่นคำขอใบอนุญาตเอกสารราชการได้มากน้อยเพียงใด
ตอบ รฟท จะออกจดหมายนำให้ โดยแจ้งว่าอยู่ระหว่างอนุมัติให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกระหว่างดำเนินการ
4. ผู้ยื่นข้อเสนอ สามารถเสนอรูปแบบโครงสร้างตารางอัตราค่าใช้บริการในโครงการ ไอซีดี ลาดกระบัง ได้หรือไม่
ตอบ ตารางในภาคภนวก ค . ได้มาจาก Tariff ของท่าเรือ ในรอบ 17-18 ปี ที่ผ่านมา SRT ใช้อัตราค่าภาระของท่าเรือเป็นหลักในทุกรายการจะมีการกำหนดอัตราขั้นสูงสุด ไว้ไม่เกินที่อัตรากำหนดตลอดระยะเวลา เพราะฉะนั้นถ้า Tariff นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ตามอัตราของท่าเรือกำหนดไว้ ท่านสามารถทำได้แต่ต้องขออนุมัติจาก การรถไฟ เป็นกรณีไป ปัญหาคือถ้าท่านไปเรียกเก็บเลย ถ้ามีการร้องเรียนขึ้นมาว่าเรียกเก็บนอกเหนือจากค่า Tariff ที่มันผิดสัญญา
5. เราสามารถคำนวณค่าเก็บ Tariff ที่เรียกเก็บเป็น บาท/ตารางเมตร จากที่ใช้ บาท/ตัน ได้หรือไม่
ตอบ ที่ผ่านมาใช้เป็น บาท/ตัน มาโดยตลอดก็ขอให้ใช้ตามนั้น
6. ตารางค่าบริการที่ขนตู้สินค้า หมายความถึงค่า Lift on / Lift off ใช้หรือไม่
ตอบ ใช้
7. ในตารางค่าบริการมีการอ้างถึงลักษณะการบรรทุก/ยานพาหนะ กับสถานะตู้สินค้า ขอให้อธิบายคำว่า การบรรทุก/ยานพาหนะกับสถานะตู้สินค้า
ตอบ อ้างอิงจาก อัตรา Tariff ของท่าเรือ
7.1. นอกจากนั้นรูปแบบการขนส่ง และหรือที่บรรทุกหรือไม่ เพราะมีรูปแบบให้แถวเดียว
ตอบ ถ้าท่านกรอบข้อมูลนอกเหนือจาก Tariff ของท่าเรือคงเป็นไปไม่ได้ ทำได้ตามกำหนดของ Tariff ที่อ้างจากท่าเรือเท่านั้น
8. ขอให้ รฟท. พิจารณาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่การส่งมอบ ที่ผู้ประกอบการ ไอซีดี เดิมให้กับผู้เสนอ จัดทำโดยแบ่งเป็นที่ละส่วน ที่จะส่งมอบให้กับผู้ประกอบการรายใหม่อาจไม่พร้อมกัน หากมีการส่งมอบพื้นที่ สัมปทานที่จ่ายให้กับทางรถไฟ รวมทั้งใครเป็นผู้รับผิดชอบอัตราการขนส่งที่เพิ่มไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของการขนส่งสินค้าที่ผ่านมา และการจ่ายค่าระวางพื้นฐานสำหรับการขนส่งทางรถไฟ และอื่นๆ ตลอดการส่งมอบงาน
ตอบ คือในสัญญาเดิมนั้น สมมุติว่าผู้ประกอบการเดิมประการที่จะชำระ ต้องดำเนินการย้ายออกภายใน 90 วัน ตามสัญญาเดิมและ สัญญาปัจจุบัน โดยในระหว่าง 90 วัน ถ้าท่านส่งมอบ จะปรับผู้ประกอบการเดิมยังไง ถ้าส่งมอบไม่ได้ภายใน 90 วัน สำหรับตัวผู้ประกอบการใหม่นั้น ถ้าท่านเข้าก่อน สัญญาจะเพิ่มทุกพื้นที่ ถ้าท่านเข้ามาใช้ประโยชน์ก่อน ซึ่งคิดว่าในการเข้ามาใช้ก่อน ขึ้นอยู่กับการเจรจาว่า เวลาเซนต์สัญญา จะอรุ่มอร่วยว่า เข้าไปดำเนินการลักษณะแบบใหน แต่คาดว่าไม่น่าจะก่อน หรืออาจจะพอดี 90 วัน เพราะระยะเวลาค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องเคลียส์ปัญหาคลังสินค้าเกี่ยวกับศุลกากรค่อนข้างยากด้วย โดยที่ทาง รฟท จะอรุ่มอร่วยกัน โดยเข้าคุยกันในขั้นตอนลงนามในสัญญา
9. เรื่อง Tariff ต้องยึดราคาค่าบริการขั้นสูงของท่าเรือเป็นเกณฑ์ใช้หรือไม่
ตอบ ใช่
10. ค่าบริการทั้ง 5 ประเภทที่อยู่ในสัญญามีอะไรบ้าง
ตอบ น่าจะชัดเจนอยู่แล้วในค่าบริการทั้ง 5 ประเภท
11. ธุรกิจมีกฎระเบียบอย่างใดที่ห้ามมิให้ใช้สถานนีบรรจุสินค้ากล่อง ไอซีดี แห่งนี้
ตอบ ไม่มีกฎระเบียบอะไร เพียงแต่ท่านนำเข้ามาแล้วก่อนให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้น เช่น นำของเยอะๆ ทำให้การบริการตู้สินค้าเกิดปัญหา ก็ต้องพูดคุยกัน เพราะว่าท่านส่งแผนธุรกิจเข้ามา รฟท ยึดถือตู้สินค้าเป็นหลัก จะเสนอเป็นคลังสินค้าเข้ามาเยอะ ก็ไม่ใช้จุดประส่งของ ไอซีดีนี้ โดยธุรกิจหลังต้องอยู่ให้ได้
12. ผู้เสนออยากทราบว่า คำว่ามูลค่าในการบรรทุกใช้บริการมีความหมายอย่างไร
ตอบ ใครมาใช้แล้ว เก็บใครก็คือผู้ใช้บริการ จะเป็นสายเรือ ก็ดี จะเป็น อิมพอร์ทเตอร์ เอ็กพอร์ทเตอร์ ก็ดี
13. ทาง รฟท จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการรายใหม่นั้น รับผิดชอบ หรือมีหน้าที่อย่างไรเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่โดยรอบ ไอซีดี ในอนาคต และปัจจุบัน
ตอบ ต้องไปศึกษา พรบ.สิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดไว้ใน TOR แล้วว่าท่านต้องปฏิบัติตามอย่างไร คือทางด้าน รฟท กลัวอย่างเดี่ยวคือการ ร้องเรียนเท่านั้นเอง ตาม พรบ. นั้น (อ่านเพิ่มได้ใน พรบ.สิ่งแวดล้อม ปี 35) โดยใน ไอซีดี นั้นมีไม่เยอะ เช่น น้ำมัน การปล่อยน้ำเสียลงไปในบ่อสาธารณะ โดยมีบ่อบำบัดอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่มีการประสานงานกัน โดยของใหม่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่ดูแลเอง
14. กรุณาชี้แจ้งรายละเอียดคุณสมบัติ นิติบุคคลตั้งใหม่ โดยมีกิจการร่วมค้า ว่านิติบุคคลทุกรายในกลุ่มต้องมีประสบการณ์ การบริหารไม่น้อยกว่าปีละ เก้าแสนตู้ ใช้หรือไม่
ตอบ ใน TOR กำหนดดังนี้ ถ้าท่านเป็นนิติบุคคลรายเดียวที่มีประสบการณ์ เก้าแสนตู้ (ข้อ 5.10) ก็สามารถมายื่นได้เลยเพียงรายเดียว แต่ถ้าท่านมีไม่ถึง แต่ท่านจะรวมกลุ่มกัน โดยมี 2 วิธี คือ
กรณีที่ 1. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ก่อนยื่น ท่านสามารถใช้ประสบการณ์รวมได้ รวมถึงทุนจดทะเบียนด้วย 250 ล้านบาท ใช้ประสบการณ์รวมของท่าน มา 5 ราย รายละเท่าไหร่ก็คำนวณออกมา โดยท่านไม่จำเป็นที่เพียง 5 กลุ่ม อาจจะมี 20 กลุ่ม แต่ในสมาชิกมี ประสบการณ์เกิน เก้าแสน ก็ใช้ได้ ทุนจดทะเบียนก็เช่นเดียวกัน
กรณีที่ 2. ท่านยังไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ดังนั้นท่านต้องเลือก