ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมประเพณีจึงมีความเกี่ยวข้อง กับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนในประเทศ ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่
* ระบำอัปสรา (Apsara Dance) เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา ซึ่งถอดแบบการ แต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด นางอัปสราตัวเอกองค์แรก คือ เจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อ เข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้น ระบำอัปสรา ก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้ เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่า เป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัยนครวัด เป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็น ระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียง ขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความ เคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต ดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วน ใหญ่ในปราสาทนครวัดคือ ดอกฉัตร พระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูง ของเขมรคงประดับ ศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสรา ที่พบ ในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง
* เทศกาลน้ำ (Water festival) หรือ “บอน อม ตุก” (Bon Om Tuk) เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณของ แม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์ มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุดอกไม้ไฟ การ แสดงขบวนเรือประดับไฟ เและขบวนพาเหรด บริเวณทะเลสาบ "โตนเลสาบ" ที่จัดขึ้น ทุกปีตั้งแต่ วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือน
พฤศจิกายน ซึ่งทางการกัมพูชา ประกาศให้เป็น วันหยุด 3 วัน เพราะน้ำในแม่น้ำโขงเมื่อขึ้นสูง จะไหลไป
ที่ทะเลสาบ เนื่องจากในช่วงปลาย ฤดูฝนในเดือนพฤศจิกายน น้ำในทะลสาบลดต่ำลง ทำให้น้ำไหลลง กลับสู่ลำน้ำโขงอีกครั้ง ชาวกัมพูชาจะร่วมกันลอยทุ่นที่ประดับด้วยดวงไฟ ไปตาม แม่น้ำโขง ขณะที่การ
แข่งเรือ เป็นการรำลึก ถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ช่วงศตวรรษที่ 12 ในยุคเมืองพระนคร อาณาจักรเขมรที่กำลังรุ่งเรืองมีชัย เหนืออาณาจักรจาม ในการสู้รบ ทางเรือ