1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ไปเก็บรวบรวมข้อมูลเอง ข้อ มูลที่ได้จะมีความทันสมัยมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ แต่การรวบรวมข้อมูลต้องใช้เวลานาน ต้องใช้กาลังคนมาก เสียค่าใช้จ่ายสูง ไม่สะดวกเท่าที่ควร
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้วผู้ใช้เป็นเพียงผู้ที่นาข้อมูลนั้นมาใช้ จึงเป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย แต่บางครั้งจะเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับความต้องการ หรือไม่ละเอียดพอ นอกจากนี้ผู้ใช้มักจะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งมีผลทาให้การวิเคราะห์ผลอาจจะผิดพลาดได้
1.4 ระดับของการวัด (Level of Measurement)
ข้อมูลในการวิจัยจานวนมากได้มาจากการวัด ซึ่งการวัด (Measurement) หมายถึง การกาหนดตัวเลข หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ แทนปริมาณหรือคุณภาพหรือคุณลักษณะ ของสิ่งที่วัด มาตราการวัดมี 4 ระดับ คือ
1. มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale or Classification Scale)
เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจาแนกกลุ่มหรือประเภท โดยตัวเลขหรือค่าที่กาหนดให้นามาบวก ลบ คูณ หาร กันไม่ได้ เป็นระดับการวัดที่ต่า ที่สุด เป็นการกาหนดตัวเลขแทนชื่อคน แทนคุณลักษณะต่าง ๆ แทนเหตุการณ์ต่างๆ หรือแทนสิ่งต่าง ๆ เช่น เบอร์นางงามที่เข้าประกวด เบอร์นักฟุตบอล เลขทะเบียนรถต่าง ๆ การกาหนดให้เลข 0 แทน เพศหญิงเลข 1 แทนเพศชาย คุณสมบัติที่สาคัญของมาตรานี้ก็คือ ตัวเลขที่กาหนดให้จะเพียงแต่ชี้ถึง ความแตกต่างกัน คือชี้ว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ไม่ได้แทนอันดับ ขนาด ปริมาณหรือคุณภาพใด ๆ ซึ่งตัวเลขหรือค่าต่าง ๆ ที่กาหนดให้นั้นนามาบวก ลบ คูณ หารกันไม่ได้ และจากการที่ไม่ได้ชี้ปริมาณหรือคุณภาพดังกล่าว นักจิตวิทยาบางท่านจึงไม่ยอมรับการวัดชนิดนี้ว่าเป็นการวัด (Measurement)
ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตรานามบัญญัติ (Nominal scale)
1. เพศ ชาย หญิง
2. เชื้อชาติ (ไทย, จีน, ฯลฯ)
3. ศาสนา (พุทธ, คริสต์, อิสลาม, ฯลฯ
4. อาชีพ หมอ นักเรียน ครู
5. หมายเลขโทรศัพท์ .........................
6. เลขที่บ้าน .............................