ในการคำนวณเวลาละหมาดนั้น ในฐานะที่ผมเองได้ศึกษามาโดยตรง ผมจะอยากขอแนะนำว่า ไม่ว่าเราท่านทั้งหลายจะดูปฏิทินหรือดูเวลาละหมาดทางใหนก็แล้วแต่ ปัญหาที่พบอยู่บ่อยๆก็คือเวลาของการละหมาดซุบฮิ จากการศึกษาของผมเอง ได้พบว่าผู้รู้(อาเล็ม)ในวิชาฟะลักในสมัยก่อนหลายต่อหลายท่าน รวมถึงสมัยนี้หลายต่อหลายท่าน ได้คำนวณเวลาละหมาด ได้บอกว่าเวลาซุบฮิต้อง 20 องศา ก่อนดวงอาทิตย์จะขึ้นจริง(คืออยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า20องศา ในวิธีการคำนวณนั้นต้องสร้างรูปสามเหลี่ยมดาราศาสตร์ หาค่าแธนพีส่วนสองเท่ากับสแควรรูตเศษซายวงเล็บอาร์ลบซี คูณ ซายวงเล็บอาร์ลบเอสส่วนซายวงเล็บอาร์ลบพี คูณ ซายอาร์ ต่อจากนี้ยังมีขั้นตอนอีกมากมาย กว่าจะได้เวลาละหมาดซุบฮิ จากการที่ผมได้ดูปฏิทินที่มีแจกในปัจจุบันนี้ เวลาซุบฮิยังอยู่ในประมาณ20องศา ตรงนี้ผมไม่ห่วง ต่างกันนิดหน่อยอยู่ที่ตำแหน่งแลต-ลองที่คำนวณ (ตรงนี้สำคัญมากๆๆๆ ถ้าคำนวนตรงใจกลางเมือง ด้านชานเมืองอาจยังไม่เข้าเวลาก็เป็นได้ นักทำปฏิทินต้องให้ความสำคัญในสิ่งที่เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กๆนี้ แต่ตามพระผู้เป็นเจ้าแล้ว เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากเพราะถ้าเริ่มละหมาดก่อนเข้าเวลา ก็ใช้ไม่ได้นั่นเอง) แหละค่าเวลาเผื่อ แต่ที่เป็นห่วงก็คือเวลาซุบฮิ ที่ต่างไปกว่าปฏิทินมาก บางทีมากถึง12นาที บางทีมากถึง8นาที (อย่างนี้ไม่เรียกว่า20องศาแล้ว) ซึ่งปัญหานี้ก็จะเกิดขึ้นช่วงเดือนร่อมะดอนนั่นเองคือเข้าเวลาละหมาดซุบฮิจริงๆแล้วแต่ยังรับประทานอาหารกันอยู่เลย ซึ่งตรงนี้ควรตระหนักให้มาก