หลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอดไฟฟ้าชนิดนี้ มีลักษณะแตกต่างไปจากหลอดไฟฟ้าธรรมชาติชนิดไส้ กล่าวคือ ตัวหลอดทำด้วยแก้ว บางใสกลมยาวรูปทรงกระบอกหรือรูปวงกลม ภายในหลอดแก้วจะสูบอากาศออกเกือบหมด และบรรจุก๊าซอาร์กอนและปรอทไว้เล็กน้อย ที่ผิวด้านในของหลอดฉาบไว้ด้วยสารเคมีบางชนิดที่เปล่งแสงได้ เมื่อได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลต สารเคมีที่มีสมบัติดังกล่าวนี้เรียกว่า สารเรืองแสง ที่เหลือไส้หลอดแต่ละข้างจะมีขั้วโลหะอาบน้ำยาเพื่อให้กระจายอิเลคตรอนได้ง่าย เมื่อได้รับความร้อนจากไส้หลอดขั้วโลหะเป็นขั้วไฟฟ้าที่เรียกว่า อิเลคโทรด (Electrode) ซึ่งขั้วไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อต่อกระแสไฟฟ้าจากวงจรภายนอกเข้าสู่ตัวหลอด การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรงเหมือนกับหลอดไฟฟ้าธรรมดา เพราะจะทำให้หลอดไส้ขาดทันทีที่กระแสไฟฟ้าผ่าน ดังนั้นจึงต้องใช้ต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นอีก ได้แก่ สตาร์ตเตอร์ และบัลลัสต์
เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพแสงและอายุการใช้งานมากกว่าหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์แท่งยาวที่ใช้แพร่หลายมีขนาด 36 วัตต์แต่ก็ยังมีหลอดแสงสว่างประสิทธิภาพสูง (หลอดซุปเปอร์ลักซ์) ซึ่งมีราคาต่อหลอดแพงกว่าหลอดแสงสว่าง 36 วัตต์ ธรรมดาแต่ให้ปริมาณแสงมากกว่าร้อยละ 20 ในขนาดการใช้กำลังไฟฟ้าที่เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) หรือหลอดตะเกียบชนิดให้สีของแสงออกมาเทียบเท่าร้อยละ 85 ของหลอดไส้ (ให้สีของแสงดีที่สุด) สำหรับใช้แทนหลอดไส้ช่วยประหยัดไฟ และอายุการใช้งานนานกว่า 8 เท่าของหลอดไส้ มี 2 แบบ คือแบบขั้วเกลียวกับขั้วเสียบ
หลอด LED
หลอด LED ถือว่าเป็นทางเลือกของอนาคตได้เลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติการทำงานที่ไม่มีการเผาไส้หลอด จึงไม่เกิดความร้อน แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอภายในสารกึ่ง พลังงานเปลี่ยนเป็นแสงสว่างได้เต็มที่ มีแสงหลายสีให้เลือกใช้งาน ขนาดที่เล็กทำให้ยืดหยุ่นในการออกแบบ การจัดเรียง นำไปใช้ด้านตกแต่งได้ดี มีความทนทาน ไม่ต้องห่วงเรื่องไส้หลอดขาด หรือหลอดแตก ด้านอายุการใช้งานก็อยู่ได้ถึง 50,000-60,000 ชั่วโมง ทั้งยังปรับหรี่แสงได้ง่ายกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และที่สำคัญ ปราศจากปรอท และสารกลุ่มฮาโลเจนที่เป็นพิษ แต่มีข้อเสีย คือในปัจจุบันหลอด LED มีราคาสูงกว่าหลอดธรรมดาทั่วไปและมีความสว่างไม่มากนัก