สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
เชื้อ Yersinia enterocolitica จะสามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ (เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ)หอยนางรม ปลาและน้ำนมดิบซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุของการปนเปื้อนใน อาหาร อย่างไรก็ตามสามารถพบเชื้อชนิดนี้ได้อย่างมากมายในดิน น้ำ และสัตว์ เช่น บีเวอร์ หมูและกระรอกและจะมีโอกาสปนเปื้อนมาสู่อาหารที่เรารับประทานได้สูงการขาดการสุขาภิบาลและวิธีการฆ่าเชื้อที่ไม่ดีพอของผู้ประกอบอาหารรวมถึงลักษณะการเก็บก็เป็นขั้นตอนที่อาจเกิดการปนเปื้อนได้
อาการของโรค
ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ภายใน 24-48 ชั่วโมง หลังจากรับเชื้อโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้มีการติดเชื้อนี้การวินิจฉัยอาการของโรค Yersiniosis นั้น จะมีการตรวจหาเชื้อจากอุจจาระ เลือด
และอาเจียนของผู้ป่วยและเพื่อเป็นการยืนยันก็จะมีการตรวจด้วยวิธีทางชีวเคมีและทางเซรุ่มวิทยา (serological) ซึ่งจะให้ผลที่บ่งชี้ได้ชัดเจนว่าเป็นเชื้อชนิดนี้จริงโดยผลการตรวจด้วยวิธีเซรุ่มวิทยาจะให้ผลที่น่าเชื่อถือมากกว่าเมื่อทำการตรวจจากน้ำเหลืองของผู้ป่วยทั้งในระยะที่รุนแรงและระยะพักฟื้น ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ 80% จะมีอาการท้องร่วง และยังมีอาการที่พบได้บ่อยคือ ปวดท้องและมีไข้ โรค Yersiniosis นั้นพบว่าได้เคยมีการวินิจฉัยที่ผิดพลาดเนื่องจากความสับสนกับโรคลำไส้อักเสบและไส้ติ่งอักเสบ
กลุ่มประชากรที่มีโอกาสติดเชื้อชนิดนี้ได้ง่ายนั้นมีความเป็นไปได้ที่โรคนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุน้อยมากหรือผู้สูงวัยเนื่องจากสภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายที่อ่อนแอลงและก็ยังขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนที่จะมีโอกาสเกิดโรค
ข้ออักเสบและลำไส้อักเสบได้ โรคแทรกซ้อนและอาการอื่นๆที่เกิดจากโรคชนิดนี้นั้นก็คือ การผ่าตัดไส้ติ่งเนื่องจากความเข้าใจผิดจากอาการของโรคชนิดนี้ คือเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อจะมีอาการปวดท้องที่บริเวณด้านล่างขวา ซึ่งเป็นอาการเดียวกับโรคไส้ติ่งอักเสบ และพบว่าเชื้อชนิดนี้ทั้ง 2 สายพันธุ์นั้นสามารถทำให้เกิดอาการอักเสบของข้อต่อซึ่งพบได้ 2-3% สภาวะแทรกซ้อนอื่นๆนั่นก็คืออาจเกิดการติดเชื้อขนิดนี้เข้าสู่กระแสโลหิต ซึ่ึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น แต่ก็พบว่ามีน้อยรายที่จะเสียชีวิตจากกรณีดังกล่าว
การป้องกัน
1. ไม่รับประทานเนื้อหมูดิบหรือเนื้อหมูที่ปรุงไม่สุก
2. ดื่มนมและรับประทานผลิตภัณฑ์นมที่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธีแล้ว
3. ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนที่จะรับประทานอาหารและก่อนเตรียมอาหาร
หลังจากสัมผัสตัวสัตว์ และหลังจากสัมผัสกับเนื้อดิบ
4. หลังจากปรุงอาหารที่ต้องสัมผัสกับไส้หมูดิบควรล้างมือและนิ้วด้วยน้ำสบู่
ให้สะอาดหมดจดก่อนที่จะสัมผัสกับตัวเด็กหรือของเล่นและขวดนมของเค้า
5. ป้องกันการปนเปื้อนที่จะเกิดขึ้นในเนื้อไก่ แยกเนื้อสัตว์ดิบออกจากอาหาร
ชนิดอื่นเช่นผักที่รับประทานสดๆ รวมทั้งไม่ใช้ภาชนะและอุปกรณ์ร่วมกัน
นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังในการทำความสะอาดมีด ถาดและภาชนะที่ใช้
ใส่เนื้อสัตว์ดิบ ซึ่งควรล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำร้อนหลังจากการใช้
6. หมั่นทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงไว้อย่างถูกวิธี