มารยาท คือ กิริยาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ
การนั่ง โดยการคำนึงถึงมารยาท อาจจัดประเภทได้ดังนี้
1. การนั่งพับเพียบ คือ การนั่งราบกับพื้น พับขาให้ขาขวาทับขาซ้าย หรือขาซ้ายทับขาขวา
- การนั่งพับเพียบธรรมดา คือ การนั่งพับเพียบวางมือไว้บนหน้าขา หรือเอามือท้าวพื้น ลักษณะนี้ใช้ในการนั่งสนทนากับเพื่อนหรือนั่งอยู่ตามลำพัง
-การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่ คือ การนั่งพับเพียบธรรมดา แต่ไม่ควรท้าวแขน สายตาทอดลงเล็กน้อย และไม่จองตาผู้ใหญ่จนเสียกิริยา
* ถ้าเป็นการเข้าพบผู้ใหญ่เพื่อนำของไปให้ หรือผู้ใหญ่ให้ของควรจะนั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย เพื่อสะดวกในการรับของจากผู้ใหญ่เพราะเราจะส่งชองหรือรับของด้วยมือขวา
-การนั่งพับเพียบประนมมือ คือ การนั่งพับเพียบประนมมือให้ชิดกัน ฝ่ามือราบปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่ก้างศอก ลักษณะนี้ใช้ในโอกาสที่นั่งฟังพระเทศน์,สวดมนต์,รับฟังโอวาท หรือรับพรจากผู้ใหญ่
-การนั่งพับเพียบในพิธีการ คือ การนั่งพับเพียบในอาการสำรวมตลอดเวลา
2.การนั่งขัดสมาธิ คือ การนั่งตามสบายอย่างหนึ่งและการนั่งแบบทำสมาธิ
- การนั่งขัดสมาธิธรรมดา คือ การนั่งคู้เข่าทั้งสองเข้าหาตัว โดยขาข้างหนึ่งซ้อนทับอยู่บนอีกข้างหนึ่ง เป้นอิริยาบถที่ใช้นั่งตามลำพังหรือทั้งรับประทานอาหารกับพื้น
-การนั่งขัดสมาธิราบ
-การนั่งขัดสมาธิเพชร
3.การนั่งหมอบ คือ การนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าหมอบลงไปให้ศอกลงถึงพื้น มือประสานกัน ไม่ก้มหน้า สายตาทอดลงต่ำ การนั่งลักษณะนี้ใช้เมื่อเข้าเฝ้าหรือรอรับเสด็จแบบไทย
4.การนั่งคุกเข่า คือ การนั่งย่อเข่าลงให้ติดพื้น มี 4 แบบดังนี้คือ
4.1 การนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง การนั่งลักษณะนี้ใช้เมื่อผู้ชายจะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์หรือใช้ในการถวายบังคมทั้งหญิงและชาย
4.2 การนั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ การนั่งลักษณะนี้ใช้เมื่อผู้หญิงจะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์
4.3 การนั่งคุกเข่าประนมมือ การนั่งคุกเข่าแบบเทพบุตรหรือเทพธิดา
4.4 การนั่งคุกเข่าแบบลูกเสือ คือ การถวายราชสดุดีตามแบบลูกเสือที่ปฏิบัติอยู่ เมื่อประธานมีคำสั่งให้ถวายราชสดุดี แล้วก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว คุกเข่าลง ตั้งเข่าซ้าย นั่งลงบนส้นเท้าขวา มือขวาแบคว่ำลงบนเข่าขวา แขนซ้ายวางพาดบนเข่าซ้ายเอียงไปทางขวาเล็กน้อย เมื่อร้องเพลงราชสดุดีให้ก้มหน้าเล็กน้อย และให้เงยหน้าขึ้นตามเดิมเมื่อเพลงจบ
5.การนั่งเก้าอี้
-การนั่งเก้าอี้ทั่วไป คือ การนั่งตามสบาย ถ้าเป็นเก้าอี้ที่มีที่เท้าแขนก็สามารถวางพาดได้ แต่ไม่ควรโยนเก้าอี้ ใช้เมื่อยู่ตามลำพังหรือสนทนากับเพื่อน
-การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่ คือ การนั่งโดยสำรวมกิริยา ไม่ก้มหน้า หลังไม่พิงพนังเก้าอี้ มือทั้งสองข้างวางประสานกันบนหน้าขา
การยืน โดยการคำนึงถึงมารยาท อาจจัดประเภทได้ดังนี้
1.การยืนตามลำพัง ขาทั้งสองข้างชิดกัน ปล่อยแขนแนบลำตัวหรือประสานไว้ข้างหน้า อย่ายืนกางขา แกว่งแขน ล้วงกระเป๋า เป็นต้น
2.การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนตรงหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
การเดิน โดยการคำนึงถึงมารยาท อาจจัดประเภทได้ดังนี้
1.การเดินตามลำพัง คือ การเดินหลังตรง ช่วงก้าวไม่ยาวหรือสั่นจนเกินไป แกว่งแขนแต่พองาม
2.การเดินกับผู้ใหญ่ ควรเดินไปทางซ้ายค่อนไปทางหลังเล็กน้อย ท่าเดินน้องนอบน้อม ช่วงก้าวพอดี อย่าเดินส่ายตัว ควรเว้นระยะห่างและคอยสังเกตว่าผู้ใหญ่ที่เดินนำนั้นจะหยุดเดิน ณ ที่ใดที่หนึ่ง ให้ชะลอฝีเท้าลงเพื่อไม่ให้ชนท่าน
3.การเดินเข่า ยกเข่าขวา-ซ้ายก้าวไปข้างหน้าสลับกันไปมา ปลายเท้าตั้งช่วงก้าวของเข่ามีระยะพองาม ไม่กระชั้น เกินไป มือไม่แกว่ง หากผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มเล็กน้อย ขณะเดินเข่าระมัดระวังอย่าให้ปลายขาทั้งสองแกว่ง ไปมา ขณะก้าวเข่าอย่าให้ปลายเท้าลากพื้นจนมีเสียงดัง