โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ด้านสุขภาพ"
เห็นด้วย
เพราะว่า “ โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ด้านสุขภาพ" ช่วยทำให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความเครียดน้อยลง จากการเรียนและการบ้านที่มากจนเกินไป และเด็กไทยมีทักษะเรียนรู้การใช้ชีวิตที่แย่มาก แต่ก็เข้าใจว่าวิชาการเป็นพื้นฐานแต่ก็ต้องไม่มากจนเกินไป จนนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตไม่ได้ และโครงการนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อหลักสูตรการเรียนเพราะไม่มีการเปลี่ยนหลักสูตร แต่จะใช้วิธีปรับปรุงหลักสูตรโดยอาจเนื้อหาภายในแต่ละวิชาที่มีความซ้ำซ้อนจะต้องตัดออกไป โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตัวชี้วัดความรู้ และเวลาที่ลดจากการเรียนมานั้นก็ไม่ได้ปล่อยให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้ไร้ประโยชน์ แต่ได้ให้ใช้เวลานั้นไปไปเรียนรู้ทักษะหรือทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความรู้และประโยชน์แก่ตนเอง ในส่วนเรื่องเพิ่มเวลารู้ ด้านสุขภาพ นั้นได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ซึ่งได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หรือสมอง ที่จะต้องฝึกให้เด็กรู้จักคิดตามหลักการการพัฒนาสมองของเด็กแต่ละช่วงวัย 2) ด้านเจตพิสัย (Affective Domain) หรือหัวใจ ที่จะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ความมีวินัย ความเป็นชาติไทย รักสถาบันพระมหากษัตริย์ รู้จักสิทธิและหน้าที่ ฝึกให้มีทัศนคติที่ถูกที่ควร 3) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หรือมือ ก็คือการฝึกให้มีทักษะจากการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นได้ว่านอกจากความรู้ทางวิชาการแล้วนั้น การเรียนรู้ทั้ง3ด้านจำเป็นต่อการใช้ชีวิตในสังคมของนักเรียน ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ตัวอย่างเช่น
- สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ซึ่งมีกลุ่มกิจกรรมพัฒนาด้านการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางวิชาการอีกด้านหนึ่งแต่เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิดความสนุกผ่อนคลายความเครียดไปด้วย
- สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม ซึ่งมีกลุ่มกิจกรรมปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคม ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย เช่น กิจกรรมมือปราบขยะ ตามรอยพ่อ ลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ภูมิใจในบ้านเกิด เป็นต้น
- สร้างเสริมทักษะการทำงาน การดำรงชีพ และทักษะชีวิต ซึ่งมีกลุ่มกิจกรรมตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกการทำงาน ทักษะทางอาชีพ และอยู่อย่างพอเพียง พัฒนาความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิต สร้างเสริมสมรรถนะทางกาย อาทิ กิจกรรมร้องได้ ร้องดี ชีวีมีสุข ร้อยลูกปัด คู่ Buddy พี่รหัส วันกีฬาครอบครัว เป็นต้น
จากเหตุผลต่างๆที่ไม่ได้ส่งผลกระทบในทางที่แย่ลง แต่กลับช่วยทำให้เด็กนักเรียนมีทักษะและศักยภาพทางร่างกายและจิตใจมากขึ้น และด้วยกิจกรรมความรู้ต่างๆที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดขึ้นนั้นเห็นด้วยว่ามีความเหมาะสมและจำเป็นเพื่อนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวันต่อไป