ช่องทางการติดต่อที่สำคัญมี 3 ทาง คือ
1. การร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่ชายกับหญิง ชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้ มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด และจากข้อมูลของกองระบาดวิทยา พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
2. การรับเชื้อทางเลือด โอกาสติดเชื้อขึ้นกับปริมาณไวรัสในเลือด พบได้ใน 2 กรณี คือ
2.1 ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยา ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่ม ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
2.2 รับเลือดในขณะผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด
ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุกขวด ต้องผ่านการตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ และจะปลอดภัยเกือบ 100 % (โอกาสตรวจผิด หรือเลือดมีเชื้อแต่ยังไม่ให้ผลบวก มีน้อยมาก)
3. หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จากสามี / คู่นอนหรือจากพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง อัตราการติดเชื้อเอดส์ในหญิงมีครรภ์ ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 1.76 (มิถุนายน 2542) และโอกาสที่เด็กจะได้รับเชื้อจากแม่ ประมาณร้อยละ 30
ขณะนี้มีวิธีป้องกันการแพร่เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก ได้โดยให้หญิงตั้งครรภ์ กินยา เอ-แซด-ที ในช่วงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ไปจนคลอด ซึ่งสามารถช่วยให้ทารกปลอดภัย จากการติดเชื้อเอดส์จากแม่ได้มากกว่าร้อยละ 50