นายลีกวนยู
“ลี กวน ยู” (Lee Kuan Yew) ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่า เขาคือผู้กุมอำนาจบริหารของ สิงคโปร์มายาวนายถึง 31 ปี ชาวสิงคโปร์ไม่เคยลืมว่า อดีตผู้นำประเทศผู้นี้คือผู้นำพาให้สิงคโปร์ก้าวล้ำ พัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดที่มีความร่ำรวยมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลกในยุคที่ลีกวนยูบริหาร ประเทศภายใต้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แม้จะเคยมีคนตราหน้าว่าเขาคือนักเผด็จการตัวจริงใน ระบอบประชาธิปไตยก็ตาม
ลีกวนยูมีเชื้อสายจีนแคะที่บรรพบุรุษอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยนใน จีน แผ่นดินใหญ่ เขาเกิดในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466 ในยุคที่สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศอาณานิคม ของอังกฤษ และได้เข้าศึกษาที่ “Raffles College” ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดใน “บริติส มาลายา” ของสิงคโปร์ ทำให้เขาได้รับการปลูกฝังและมีแนวความคิดตามแบบชาวตะวันกตมาตั้งแต่เด็ก
การเข้าศึกษาในวิทยาลัยแห่งนี้ทำให้ลีกวนยูได้เป็นเพื่อร่วมรุ่นกับ “ตนกู อับดุล รามาน” ซึ่งเคย ตำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซียในยุคก่อนหน้าที่ “ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด” จะขึ้น กุมอำนาจยาวนายในมาเลเซีย
แต่แล้วชีวิตการศึกษาของลีกวนยูในวัย 19 ปีก็หยุดชะงักลงด้วยพิษสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับอังกฤษและเข้ารุกรานเพื่อยึดครองสิงคโปร์ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศอาณานิคมของอังกฤษเวลานั้น การที่ได้เห็นกองทัพญี่ปุ่นแข็งแกร่งและมีชัยชนะเหนืออังกฤษทำให้ลีกวนยู จุดประกายความคิดขึ้นว่า แท้จริงแล้วคนเอเชียก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าฝรั่งผิวขาวตาน้ำข้าวจาก ซีกโลกตะวันตกเลย เขาเปลี่ยนทัศนคติจากเดิมจากที่เคยคิดว่าคนเอเชียด้วยกว่าจนถูกล่าอาณานิคม เป็นว่าเล่น เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นอีกหนึ่งในจังหวะชีวิตของลีกวนยูเพราะเขาเริ่มหันมาสนใจงานด้าน การเมืองและเริ่มมีแนวคิดที่จะต่อสู้เพื่ออิสรภาพ จนเมื่อสงครามจบลงลีกวนยูจึงได้เดินทางไปศึกษา ด้านกฏหมายที่ “มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์” ในประเทศอังกฤษ และได้พบกับ “กว่าก๊อกชู” ซึ่งเดินทาง มาเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เช่นกันก่อนจะแต่งงานกันในเวลาต่อมา
ความคิดเรื่องการต่อสู้เพื่ออิสระภาพของลีกวนยูคุกรุ่นขึ้นเมื่อ “ชาวมาลายัน” ส่วนใหญ่เริ่มตีแผ่ ถึงความไม่พอใจในการปกครองประเทศอาณานิคมของอังกฤษ เขาจึงตัดสินใจเข้าร่วมใน Malayans Forum เพื่อมีบทบาทในการตอบโต้กับประเทศอังกฤษเพ่อการเป็นอิสระจากอาณานิคมครั้งนี้
ลีกวนยูกลับมายังสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2493 และตัดสินใจตั้ง “พรรคกิจประชาชน” ในปี พ.ศ. 2497 โดยชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีของ สิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2502 ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 36 ปีเท่านั้น หลังจากมาเลเซียได้อิสรภาพจากการเป็น อาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2504 ลีกวนยูจึงหันมาเจรจากับเพื่อนเก่าในวัยเรียนอย่าง ตนกู อับตุล รามาน เพื่อต้องการอิสรภาพนี้เช่นเดียวกัน โดยมีแนวความคิดร่วมกันว่าจะรวมสิงคโปร์เข้ากับมาเลเซีย ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะเล็งเห็นว่าสิงคโปร์นั้นไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่จะเกื้อหนุนให้เกิด การพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นประเทศที่พร้อมสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้านได้ แนวความคิดนี้สำเร็จในปี พ.ศ. 2505 แต่แล้ว 2 ปีให้หลังก็ถูกต่อต้านจากชาวมาเลเซียที่ไม่ต้องการให้ชาวสิงคโปร์ซึ่งมีวัฒนธรรมที่ แตกต่างจากมาเลเซียนั้นเข้ามาอยู่ร่วมกับพวกตน ในขณะที่ชาวสิงคโปร์ก็ไม่ได้ชอบใจนักกับ การถูกเหยียดชนชั้นจึงกลายเป็นการจลาจลครั้งใหญ่ ในที่สุดลีกวนยูก็ตัดสินใจนำสิงคโปร์แยก ออกจากมาเลเซีย และตัดสินใจประกาศอิสรภาพไม่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษอีกต่อไปตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา
แม้ในช่วงแรกของการบริหารประเทศภายใต้พรรคกิจประชาชนจะไม่ราบรื่นนักและมีแนวโน้มจะถูกพรรคฝ่ายตรงข้ามโค่นล้มอำนาจ แต่ลีกวนยูก็ยังสามารถพัฒนาและนำพาสิงคโปร์ให้ไต่อันดับ ความน่าเชื่อถือในทุก ๆ ด้านบนเวทีโลกได้สำเร็จ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจเขาสร้างความมั่งคั่งให้ ชาติและสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับประชากรชาวสิงคโปร์จนในที่สุดสิงคโปร์ก็ได้เทียบชั้น แตะระดับการเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกได้สำเร็จ
ผลงานทั้งหลายรวมถึงนโยบายการบริหารประเทศของลีกวนยูทำให้เขาได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียาวนายสืบมา แม้จะมีบางเสียงกล่าวว่าการบริหารของเขา คล้ายระบอบเผด็ดการที่รัฐบาลมักจัดสรรทุกสิ่งทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จ อีกทั้งยังออกกฎหมายที่ เข้มงวดในการปกครองและดูแลประชาชนจนเป็นที่โจษจันไปทั่วโลกถึงความเด็ดขาดของกฎหมายในสิงคโปร์ ตั้งแต่เรื่องที่ดูเหมือนเล็กน้อยอย่างการมักง่ายทิ้งขยะเลอะเทอะก็จะถูกรัฐปรับเป็นจำนวนเงิน ที่สูงมาก ไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างการข้องเกี่ยวกับยาเสพติดที่ระบุโทษแขวนคอโดยไม่ต้องอุทรใด ๆ ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับบทลงโทษของผู้ที่คดโกงและคอรัปชั่นเงินแผ่นดินก็จะถูกลากไปแขวนคอเช่นกัน
ทุกวันนี้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับ นานาชาติ กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจ ศูนย์กลางการเงินการธนาคารโลก เมืองท่าและศูนย์การพาณิชย์ ตลาดหุ้น ศูนย์การแห่งการท่องเที่ยวที่ทันสมัยในภาคพื้นเอเชีย ทั้ง ๆ ที่สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากร ธรรมชาติใด ๆ ในกำมือเลย
จึงถือได้ว่าลีกวนยูมีความเฉียบคมในการบริหารประเทศเขาวางกลยุทธ์การศึกษาให้กับเยาวชน โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนคือด้านภาษา ที่ส่งเสริมทั้งภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับสิงคโปร์ในแง่การค้าการลงทุน ที่สำคัญคือเทคโนโลยีล้ำยุคจาก ฟากฝั่งยุโรปและอเมริกาก็ได้รับการเผยแพร่ในสิงคโปร์ จนประชากรมีความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีกัน อย่างคุ้นเคย รวมทั้งยังไม่ลืมส่งเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมของรากเหง้าแห่งชนชาติบรรพบุรุษ ทั้งหมดนี้ทำให้สิงคโปร์ที่เดิมเคยเป็นประเทศที่ไม่มีอะไรเลย กลายเป็นมาเป็นหนึ่งในประเทศแถวหน้า ของโลก และแข็งแกร่งเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มเอเชียที่ได้รับการยอมรับของชาวโลกมาจนถึงทุกวันนี้