มาร์ก ทเวน (อังกฤษ: Mark Twain) เป็นนามปากกาของ ซามูเอล แลงฮอร์น คลีเมนส์ (อังกฤษ: Samuel Langhorne Clemens; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 - 21 เมษายน ค.ศ. 1910) เป็นนักเขียน นักบรรยาย และนักเขียนเรื่องขบขันชาวอเมริกันที่ มีชื่อเสียง และยังเป็นคนขับเรือกลไอน้ำ นักขุดทอง และนักหนังสือพิมพ์อีกด้วย ในช่วงสูงสุดของชีวิตเขานั้น เรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นเลยทีเดียว วิลเลียม ฟอล์คเนอร์ (William Faulkner) ได้เขียนเกี่ยวกับ มาร์ก ทเวน ไว้ว่า เป็น "นักเขียนอเมริกันแท้ ๆ คนแรก และพวกเรานับแต่นั้นมาเป็นทายาทของเขา"
ผลงานของเขาที่น่าจะเป็นที่คุ้นตาของคนไทย ก็คือ ทอม ซอว์เยอร์ ผจญภัย (The Adventures of Tom Sawyer) และ ฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์ ผจญภัย (The Adventures of Huckleberry Finn)
ภาพรวมอาชีพการงาน[แก้]
ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ มาร์ก ทเวน ได้ทิ้งไว้ให้กับ วรรณกรรมอเมริกัน ก็คือ ฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์ ผจญภัย โดย เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า
All modern American literature comes from one book by Mark Twain called Huckleberry Finn. ... all American writing comes from that. There was nothing before. There has been nothing as good since.
นิยายเรื่องอื่นที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ "ทอม ซอว์เยอร์ ผจญภัย", "The Prince and the Pauper", "A Connecticut Yankee in King Arthur's Court" และงานเขียนสารคดี "Life on the Mississippi"
ทเวน เริ่มต้นต้วยการเป็นนักเขียนบทกลอนขำขัน แต่สุดท้ายกลายเป็นว่า เขาเป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ที่น่ากลัว เกือบจะเรียกได้ว่าแหกคอกเลยก็ว่าได้ จากที่ได้ประสบกับ ความยโสโอหัง ความเจ้าเลห์เพทุบาย และการเข่นฆ่ากันของเหล่ามนุษยชาติ ในช่วงตอนกลางของอาชีพ เขาได้ผสมผสาน ความขบขัน การดำเนินเรื่องที่แข็งขัน และการวิจารณ์สังคม เอาไว้อย่างไม่มีใครเปรียบ ในงานเขียนของเขา ฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์ พจญภัย
ทเวน เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้ภาษาชาวบ้าน เขาเป็นผู้ที่ช่วยสร้างวรรณกรรมอเมริกัน ที่มีลักษณะเฉพาะตัว จากภาพลักษณ์ และภาษาของชาวอเมริกัน และได้ทำให้มันเป็นที่นิยมขึ้นมา
ทเวน นั้นมีความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ เขาเป็นเพื่อนที่คบหามานานกับนิโคลา เทสลา ทั้งคู่มักจะใช้เวลาร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ (เช่น ใน ห้องทดลองของเทสลา) เรื่อง A Connecticut Yankee in King Arthur's Court นั้น ก็ได้ใช้การเดินทางผ่านกาลเวลา ซึ่งเดินทางจากช่วงเวลาของเขา กลับไปในยุคของกษัตริย์อาเธอร์ และได้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้สร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กับยุคนั้น
ทเวน เป็นหนึ่งผู้นำใน Anti-Imperialist League (กลุ่มผู้ต่อต้านการเข้าครอบงำประเทศอื่นโดยสหรัฐอเมริกา) ซึ่งได้ต่อต้านการเข้ายึดครองประเทศฟิลิปปินส์ เขาได้เขียนเรื่อง "Incident in the Philippines", ซึ่งตีพิมพ์หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ในปี ค.ศ. 1924, เพื่อตอบโต้เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่ Moro Crater ที่ชาว Moro 600 คนถูกสังหาร.
คำ "Mark Twain" เป็นคำที่มีความหมายสองนัย นัยหนึ่งนั้น เป็นหน่วยวัดความลึกทางน้ำเท่ากับ 2 fathom ส่วนอีกนัยนั้นหมายถึง "safe water" หลายคนเชื่อว่าคำ "Mark Twain" น่าจะมาจากความหมายที่สอง เนื่องมาจากนิสัยชอบดื่มของ ทเวน มากกว่าที่จะมาจากการเป็นนักเดินเรือของเขา นอกจากนามปากกา มาร์ก ทเวน แล้วเขายังใช้ชื่อ "Sieur Louis de Conte" ในนิยายอัตชีวประวัติของโยนออฟอาร์ค (Joan of Arc)
ผลงาน[แก้]
1. The $30,000 Bequest (fiction)
2. Adventures of Huckleberry Finn (fiction)
3. Adventures of Tom Sawyer (fiction)
4. Captain Stormfield's Visit to Heaven (fiction)
5. The Celebrated Jumping Frog of Calaveras County (fiction)
6. A Connecticut Yankee In King Arthur's Court (fiction)
7. Following the Equator (non-fiction travel)
8. A Horse's Tale (fiction)
9. Innocents Abroad (non-fiction travel)
10. King Leopold's Soliloquy (political satire)
11. Life on the Mississippi (non-fiction)
12. Man That Corrupted Hadleyburg (fiction)
13. The Mysterious Stranger (fiction, published posthumously)
14. The Prince and the Pauper (fiction)
15. Pudd'n'head Wilson (fiction)
16. Roughing It (non-fiction)
17. Tom Sawyer Abroad (fiction)
18. Tom Sawyer Detective (fiction)
19. A Tramp Abroad (non-fiction travel)
20. What Is Man? (essay)