ความคิดเห็นของอาชีพนักข่าว
อาชีพนักข่าว หรือนักหนังสือพิมพ์ ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่มีลักษณะเป็น "อาชีวปฏิญาณ" อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องมีคุณลักษณะ หรือคุณสมบัติดังนี้
1. การเป็นผู้ที่มีบุคลิกอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) เพราะความอยากรู้อยากเห็น กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น สนใจในเหตุการณ์ที่อุบัติขึ้นรอบๆ ตัว โดยชักนำไปสู่ความสงสัยใคร่รู้ถึงสาเหตุ ความเป็นมาของเหตุการณ์ จนกระทั่งออกไปค้นหา ข้อเท็จจริง ที่ถูกปิดบังเอาไว้ เพื่อนำมาตีแผ่ให้สาธารณชน ได้รับทราบในที่สุด
2. การเป็นคนช่างสังเกต (Observance) เป็นบุคลิกคล้ายกับนักสืบ คือ ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของข้อเท็จจริงที่ประกอบขึ้นเป็นข่าว เนื่องจากรายละเอียด ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อปกปิดร่องรอยเหตุการณ์ ที่อาจกลายเป็นข่าวใหญ่ได้
3. การไม่ไว้วางใจใครง่ายๆ (Cynical) หรือเป็นคนช่างสงสัย บุคลิกนี้แม้จะทำดูประหนึ่งว่า เป็นคนมองโลก ในแง่ร้ายอยู่ตลอดเวลา แต่การไม่ไว้วางใจใครง่ายๆ หรือเป็นคนช่างสงสัย จะทำให้ผู้ที่มีอาชีพนักข่าวได้คอยสอดส่อง และกำกับการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในฐานะตัวแทน ของประชาชน
4. การมีจมูกไวต่อข่าว (Nose for News) บุคลิกนี้เปรียบเสมือนกับเป็น "ประสาทสัมผัสที่หก" (Sixth Sense) ของนักหนังสือพิมพ์หรือนักข่าว ซึ่งจะทำให้สามารถแยกแยะข้อเท็จจริง ที่มีคุณค่าทางข่าว ออกจากข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมดได้ รวมทั้งแยกแยะเงื่อนงำ (Clues) ที่แฝงอยู่ในข้อเท็จจริง ที่เป็นเหตุการณ์ออกมา เพื่อนำไปสู่การเปิดโปง พฤติกรรมต่างๆ ได้
5. การเป็นคนที่มีความสามารถ ทำงานภายใต้ความกดดันได้ เพราะผู้ประกอบอาชีพนี้ จะต้องประสบกับ ความกดดัน หลายรูปแบบ ทั้งความกดดัน ทางภาวะเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากรายได้ จากการประกอบอาชีพ ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และความกดดันทางครอบครัว เนื่องจากภาระหน้าที่ อาจทำให้มีเวลา อยู่กับครอบครัวน้อยเกินไป นอกจากนี้ ยังต้องมี "เส้นตาย" (Deadline) คอยกำกับการทำงาน จะต้องรวดเร็ว และถูกต้อง ในช่วงเวลาอันจำกัดอีกด้วย
สรุปในแง่ของความคิด คือ การเป็นนักข่าวนั้น มีทั้งของดีข้อเสีย และเสี่ยงกับอุปสรรคมากมาย แต่ทุกสายอาชีพ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ถ้าลองคิดในแง่ดีการที่เรามีข่าวสารดีๆ มากมายเกิดขึ้น ทำให้เราสามารถบริโภคข่าวสารที่มีประโยช์น ก็เกิดขึ้นกับนักข่าว แต่ในแง่ไม่ดี ก็คือ ข่าวบางประเภททำให้ผู้บริโภคเกิดการขัดแย้งกัน และยุ่งเรื่องส่วนตัวมากเกินไป โปรดจงเข้าใจด้วยน่ค่ะ ว่า พวกบรรดานักข่าวไม่สามารถรู้ได้เลย ถ้าไม่มีในเรื่องของผลประโยชน์หรือรับจ้างเขียนเรื่องให้ คงห้ามนักข่าวหรือผู้ประกอบวิชาชีพรับไม่ได้แน่ๆ เพราะบางครั้งเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย ผู้จ้างที่มีเงินก็พอใจที่เลือกจ้างในราคาที่แพง ส่วนคนเขียนก็ไม่มีใครปฏิเสธที่จะรับเงินค่าจ้างที่ในราคาสูง อย่างไรก็ตาม การมีอาชีพของเสริมเป็นที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์ของนักข่าวสมัยนี้ บางครั้งบางกรณีก็ไม่ได้เสียหายถึงขั้นผิดจริยธรรมวิชาชีพ เพราะการเป็นที่ปรึกษาให้แหล่งข่าวบางครั้งไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีค่าตอบแทนเป็นตัวเงินหรือผลประโยชน์เสมอไป ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่มุมมองและเจตนาของแต่ละบุคคลมากกว่า เพราะฉะนั้นเราควรบริโภคแบบฟังหูไว้หูดีกว่าค่ะ จะไม่เกิดความลำเอียงและใช้ชีวิตในสายกลาง