บทคัดย่อ
หัวข้อสารนิพนธ์ ศึกษาบทบาทสมัชชาหมู่บ้าน /ชุมชนแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดชุมชนกรณีศึกษาบ้านนอกท่า หมู่ที่ 1ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้วิจัย นาย พงศ์ภัค บุญนา
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์
อาจารย์ เดโช แขน้ำแก้ว
อาจารย์ เชษฐา มุหะหมัด
สาขาวิชา การพัฒนาชุมชน
ปีการศึกษา 2559
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาบทบาทสมัชชาหมู่บ้าน /ชุมชนแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดชุมชนบ้านนอกท่า หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามบทบาทสมัชชาหมู่บ้าน/ ชุมชนแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดชุมชนบ้านนอกท่า หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรชุมชนบ้านนอกท่า หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก
อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นการสอบถามเกี่ยวกับวิธีการจัดตั้งสมัชชาหมู่บ้าน /ชุมชนแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดชุมชน
การศึกษาพบว่า บทบาทสมัชชาหมู่บ้าน /ชุมชนแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดชุมชนบ้านนอกท่า หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราชในหมู่บ้านต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติดและโทษที่เกิดจากยาเสพติด จัดเวทีประชาคมขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหายาเสพติด และเชื่อมโยงหลายๆองค์กร ร่วมมือกันทำงาน ร่วมวางแผน ร่วมวางเป้าหมาย ร่วมจัดการ และร่วมทุนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของแกนนำชุมชุนโดย การจัดส่งไปอบรมและศึกษาดูงานตามสถานที่ในเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดควรสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว โดยส่งเสริมครอบครัวให้มีกิจกรรม/ระบบป้องกันให้ คำแนะนำและประคับประคองดูแลช่วยเหลือเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและเยาวชนและประสานงานกับตำรวจเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจตรา ควบคุม และดูแลปัญหายาเสพติด
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามบทบาทสมัชชาหมู่บ้าน ชุมชนแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดบ้านนอกท่า หมู่ที่ 1ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินงานนำกระบวนการสมัชชาอยู่ในวงจำกัด พ่อแม่ ผู้ปกครองรักลูกในทางที่ผิด พยายามที่จะปกปิด ปกป้องบุตรหลานที่ติดยาเสพติดควรมีการสร้างความกระตือรือร้น เข้ามาร่วมกันใช้กระบวนการสมัชชารัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงการพัฒนาบุคลากรป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ขาดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้กระบวนการทำงานจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางประกอบกับปัจจุบันจำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีน้อย และเจ้าหน้าที่ยังไม่มีความสามารถและความชำนาญเพียงพอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรหลักในการสนับสนุนงบประมาณและประสานการดำเนินงาน ท้องถิ่นการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานด้านต่างๆในทุกขั้นตอน จนทำให้ชาวบ้านไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ รวมทั้งคณะกรรมการชุมชนและประชาชนไม่ให้ความร่วมมือจึงไม่สามารถแต่งตั้งสมัชชาแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน