งานนี้เป็นเทศกาลเก่าแก่นับพันปี มีบางช่วงพวกเขาสวมหน้ากากออกจากบ้านถึงปีละ 8 เดือนด้วยซ้ำ ไม่ต้อง
สงสัยว่าเมืองจะเต็มไปด้วยเสน่ห์ลึกล้ำเพียงใด เมื่อผู้คนไม่ว่ายากดีมีจน ซ่อนหน้าตา สถานะ ของตนไว้ภายใต้หน้ากาก และใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงแบบไม่ต้องแคร์ใคร
แต่เมื่อพวกออสเตรียเข้ามายึดครอง เวนิสในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ผู้คนไม่ได้รับ
อนุญาตให้ใช้หน้ากากเปเปอร์มาเช่เพื่อปกปิดหน้าตา และงานเต้นรำสวมหน้ากากก็ถูกห้ามจนกระทั่งถูกฟื้นขึ้นมา ใหม่ ในปี 1979
ปัจจุบัน หน้ากากสวย ๆ และหมวกแปลกๆ สำหรับงานเทศกาล เป็นของฝากที่ขึ้นชื่อที่สุดจากเวนิส โดยเฉพาะ
หน้ากากขาวปลายแหลมคล้ายปากนกที่ดูสะดุดตาที่สุด หน้ากากแบบนี้เป็นหน้ากากที่พวกหมอเคยใช้ในสมัยที่กาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ช่วงศตวรรษที่ 14 และจะใส่สมุนไพรเอาไว้ที่ปลายแหลม เพื่อฆ่าเชื้อในอากาศที่สูดเข้า
สมัยก่อนนั้นชาวเวนิสเขาสวมหน้ากากกันจน เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยทีเดียว ยิ่งในช่วงศตวรรษที่ 18 ถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองมากของการสวมหน้ากาก ผู้คนในสาธารณรัฐเวนิสสวมหน้ากากออกจากบ้านถึงปีละ 8 เดือนด้วยซ้ำ ไม่ต้องสงสัยว่าเมืองจะเต็มไปด้วยเสน่ห์ลึกล้ำเพียงใด เมื่อผู้คนไม่ว่ายากดีมีจนซ่อนหน้าตาสถานะของตนไว้ภายใต้หน้ากาก และใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงแบบไม่ต้องแคร์ใคร และบางครั้งก็เพื่อมีเซ็กซ์กันโดยไม่ต้องกลัวว่าใครจะจำได้แต่หลังจากการยึดครองของกองทัพของนโปเลียนในปี 1797 เมื่อเวนิสกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลอมบาร์ดี-เวเนเทีย ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
การยึดครองนำมาซึ่งการสั่งห้ามการจัดงานเฉลิมฉลองงานรื่นเริงเป็นเวลาหลายปี ผู้คนไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หน้ากากเปเปอร์มาเช่เพื่อปกปิดหน้าตา และงานเต้นรำสวมหน้ากากก็ถูกห้าม จนกระทั่งทศวรรษที่ 1970 ประเพณีดั้งเดิมดังกล่าวถูกฟื้นขึ้นมาใหม่ เมื่อกลุ่มของอดีตนักศึกษาอคาเดมี ออฟ ไฟน์ อาร์ต ได้เปิดร้านขายหน้ากากสมัยใหม่แห่งแรกของกรุงเวนิสขึ้นในปี 1978