CHAPTER 1
INTRODUCTION
1.1 Statements and significance of the problems
การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 นั้นจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและก่อให้ เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา และกัมพูชา อีกทั้งจะเกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อรับมือกับการก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยเช่นกัน ประเทศไทยจะก้าวไปสู้กับเพื่อนบ้านในอาเซียนได้อย่างไร เป็นคำถามที่อยู่ในใจหลายคน ในภาครัฐบาลไทยได้มีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจใน เชิงรุกอย่างชัดเจน ดังนั้นการเข้าสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลไปทั่วทุกภาคส่วนของประเทศ และก่อให้เกิดพันธกรณีแก่ประเทศไทยที่จะต้องเข้าร่วมเจรจากับสมาชิกอาเซียน เพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการ รวมทั้งการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเปิดเสรีการค้าบริการอาเซียน โดยมีเป้าหมาย หรือหลักเกณฑ์การเปิดตลาดอยู่ที่ "การลด" หรือ "เลิกกฎระเบียบ" หรือมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการและการลงทุน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการเปิดตลาดใน 10 สาขาบริการหลัก อาทิ บริการด้านธุรกิจ บริการวิชาชีพ บริการด้านสื่อสาร บริการโทรคมนาคม บริการด้านการท่องเที่ยว ตัวแทนนำเที่ยว(Prachachat,2012)