การประชุม Globe'90 Conference เมื่อปี พ.R. 2533 ณ เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ได้ให้คำจำกัดความของ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Development) ว่า หมายถึงการจัดการทรัพยากรทุกประเภทที่จะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม และสุนทรียภาพได้ในขณะเดียวกันสามารถรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางวัฒนธรรม กระบวนการของระบบนิเวศ ความหลากหลายของชีววิทยา และระบบของสิ่งมีชีวิตได้ (Tourism Canada, 1990 : 3) ความหมายของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนี้เน้นในเรื่องของการจัดการทรัพยากรให้เกิดผลประโยชน์และความอยู่รอดของชุมชน รวมทั้งตอบสนองพันธะทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ภายใต้ระบบนิเวศวิทยา องค์การการท่องเที่ยวโลก (UNWTO, 2008) ได้กำหนดเป้าหมายของแนวคิดของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งคู่มือการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่กำหนดขึ้น รวมทั้งตัวอย่าง การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ยกตัวอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวแบบมวลชนดั้งเดิมและการท่องเที่ยวเฉพาะทางในจุดหมายปลายทางของ เมืองท่องเที่ยวทุกประเภท หลักการสำคัญของความยั่งยืน หมายรวมถึง การพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความสมดุลของทั้ง 3 มิติเพี่อประกันความยั่งยืน ในระยะยาว (Swarebrooke,1999 : 13) ได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนว่า หมายถึง การท่องเที่ยวที่ช่วยให้เศรษฐกิจของชุมชนอยู่ได้ แต่ไม่ได้ทำลายทรัพยากรที่มีผลต่ออนาคตของการท่องเที่ยว คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมของชุมชนที่เป็นเจ้าภาพ
ในการจัดการความยั่งยืนของการท่องเที่ยว อาจใช้เครื่องมือหรือเทคนิคได้หลายเครื่องมือ ในการจัดการหรือประเมินความยั่งยืน เช่น การวัดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว การจัดการ ผู้เยี่ยมชม การประเมินผลกระทบทางต้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เครื่องมือหรือวิธีการในการวัดความยั่งยืนของการท่องเที่ยวแสดงในตารางที่ 1