การศึกษาประสิทธิภาพฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสาหร่ายน้ำจืดสกุล Cladophora spp. , Microspara spp. และ Nostochopsis spp. จากลุ่มน้ำน่าน จังหวัดน่าน โดยเก็บตัวอย่างจาก 5 จุดสำรวจ ในอำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา เพื่อนำมาศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเปรียบเทียบประสิทธิภาพฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากสาหร่ายน้ำจืดทั้ง 3 ชนิด กับสารละลายมาตรฐาน 3- tert-butyl-4-hydroxyanisole (BHA) พบว่า สารสกัดจากสาหร่ายน้ำจืดสกุล Cladophora spp. , Microspara spp. และ Nostochopsis spp. ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงสุดระหว่าง 37.6 - 45.6, 23 - 49.6 และ 32.1-87.5 ตามลำดับ . พบปริมาณปริมาณบีต้า-แคโรทีน สูงสุด ระหว่าง 2.18 – 5.02 , 1.91-4.01 และ 4.71-7.09 mg ตามลำดับ และปริมาณฟีนอลในสารสกัดจากสาหร่ายน้ำจืดสกุล Cladophora มีปริมาณ สูงสุดระหว่าง 7.39 - 19.79 mg สาหร่ายสกุลMicrospora มีปริมาณ ฟีนอล สูงสุด ระหว่าง9.37 -37.02 mg สาหร่าย Notochopsis spp.มีปริมาณฟีนอล สูงสุด ระหว่าง 7.12 -28.78 mg ของสารสกัด