ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เรามักจะพบว่าเยาวชนไทยที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองจำนวนมาก ยังรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ถึงแม้จะใช้เวลาในการเรียนเป็นระยะเวลากว่า 3 - 6 ปี หรือมากกว่าแล้วก็ตาม หากสังเกตชาวต่างชาติที่มาอาศัยในประเทศไทย ซึ่งไม่ได้เรียนวิชาภาษาไทย แต่สามารถที่จะสื่อสารกับคนไทยได้ในชีวิตประจำวันนั้น จะพบว่าลำดับขั้นตอนในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศต่างจากขั้นตอนของเยาวชนไทยอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่ เด็กไทยจะถูกปลูกฝังให้รู้จักการเขียน หรือการสะกดก่อน และจึงแต่งประโยคและนำมาพูด โดยบางคนอาจต้องไปเรียน English Conversation เพื่อการนี้โดยเฉพาะ โดยมีความเชื่อว่าการสนทนาเป็นศาสตร์ขั้นสูงในการเรียน จึงไม่แปลกที่จะพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ท่อง A-Z ได้ แต่ไม่สามารถ หรือไม่มีความกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ หรืออ่านภาษาอังกฤษได้ แต่ฟังชาวต่างชาติพูดไม่รู้เรื่อง โดยหลักสูตรของต่างประเทศ ในการเรียนภาษาที่ไม่ใช่ภาษาถิ่นนั้น จะเริ่มจากการทำความคุ้นเคยในการฟัง และพูดก่อนเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งอาจไม่ส่งผลในด้านวิชาการในขั้นต้น แต่ส่งผลโดยตรงต่อความเคยชิน ที่จะฟังและพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้ โดยการสนทนาจะถูกจัดเป็นวิชาขั้นพื้นฐาน(ไม่รวมถึงการสนทนาในสาขาวิชาเฉพาะ) การอ่านทำความเข้าใจ และการเขียนเป็นศาสตร์ขั้นสูงคนไทยส่วนมาก ( ประมาณ 70%-80%) มีอาการภาษาอังกฤษบกพร่อง ที่ เราเรียกว่า dyslexia ซึ่งหมายความถึง ความไม่สามารถในการเรียนรู้ที่จะฟัง พูด หรือ อ่านภาษาอังกฤษได้คล่องอย่างถูกต้องและ ชัดถ้อยชัดคำ อาการภาษษบกพร่องนี้ไม่ได้เกิดกับคนไทยที่มีไอคิวต่ำ แต่เกิดได้กับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความฉลาดและสภาวะของร่างกายปกติทุกประการ รวมทั้งความสามารถในการได้ยินและได้เห็น
อาการภาษาบกพร่องเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์ในวิชาภาษาอังกฤษต่ำในการสอบ เอเน็ท และ โอเน็ท รวมทั้งในผลการสอบโทเฟิล ไอบีที หรือ ไอ เอลท์ ซึ่งสร้างปัญหาให้แก่ผู้ปกครอง เพราะ จะ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติวภาษาอังกฤษที่มีราคาค่อนข้างสูงและค่าสอบซ่อม เพื่อให้ได้ผลสอบที่ต้องการในการสมัครเรียนต่อณ สถาบันต่างประเทศ นักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกของไทยมีปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษ ทำให้เป็นอุปสรรคในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำวิทยานิพนธ์และผลิตงานที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่แท้จริงในวงการวิชาการ