การศึกษาชนิดความหลากหลายและโครงสร้างประชาคมสัตว์หน้าดินและในดิน บริเวณศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมีนาคม 2559 ในระดับน้ำลงต่ำสุดที่ 1.5 เมตร พบสัตว์หน้าดินและในดินทั้งหมด 15 วงศ์ 18 ชนิด ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มหอย 11 วงศ์ 13 ชนิด กลุ่มปู 2 วงศ์ 3 ชนิด กลุ่มไส้เดือนทะเล 1 วงศ์ และกลุ่มปลา 1 วงศ์ 1 ชนิด เพื่อพิจารณาสักส่วนในเชิงจำนวนตัว พบว่ากลุ่มหอยคิดเป็นร้อยละ 77 กลุ่มปู ร้อยละ 18 กลุ่มไส้เดือนทะเลและกลุ่มปลา คิดเป็นร้อยละ 4 และ 1 ตามลำดับค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (Shanon-Wiener index) โดยพิจารณาจากสัตว์หน้าดินและในดิน บริเวณพื้นที่ศึกษามีค่อนข้างต่ำ โดยมีค่าในแต่ละบริเวณ บริเวณที่ 1 มีค่า 1.734 บริเวณที่ 2 มีค่า 1.851 และบริเวณที่ 3 มีค่า 1.538 ชนิดสัตว์หน้าดินและในดิน ชนิดเด่น ได้แก่ หอยหัวเข็มหมุด (Assiminea brevicula) หอยตลับ (Meretrix spp).ปูโคลน (Paracleistostoma eriophorum) และไส้เดือนทะเล (Polychaeta) การแพร่กระจายของสัตว์หน้าและในดินตามความลึกจะพบในระดับความลึกที่ 10 เซนติเมตร มีการแพร่กระจายของชนิดสัตว์หน้าดินและในดินค่อนข้างดีกว่าในระดับความลึกที่ 20 เซนติเมตร ซึ่งดูจากชนิดในระดับความลึก ซึ่งในระดับความลึกมีสัตว์หน้าดินและในดิน ได้แก่ หอยถั่วเขียว (Clithon oualaniense) หอยหมาก (Babylonia spirata) หอยขี้กา (Telescopium telescopium) ปูแสม (Episesarma spp.) ปูแป้น (Varnan yui) หอยจุ๊บแจง (Cerithidea obtusa) หอย (Stenothyra sp.) และ ปลาตีน (Periophthalmodon novemradiatus) โครงสร้างประชาคมสัตว์หน้าดินและในดินโครงสร้างประชาคมของสัตว์หน้าดินและในดินผลการวิเคราะห์มีความคล้ายคลึงในบริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2 และความแตกต่างสัตว์หน้าดินและสัตว์ในดินในบริเวณที่ 3 ในบริเวณศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช