เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนไปใน ทางสายกลาง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า 30 ปี คือ ใช้จ่าย 3 ส่วน และเก็บออม 1 ส่วน ฉันและครอบครัวได้นำมาปฏิบัติทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษา นักเรียน ข้าราชการ พนักงานก็สามารถนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการเรียน การทำงาน ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสามารถกระทำได้
ควรยึดหลักความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน และสละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจังประกอบอาชีพด้วยความสุจริตและถูกต้อง แม้จะเผชิญกับภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ลดละการแก่งแย่งผลประโยชน์ และการแข่งขันทางการค้าขาย ตลอดจนการประกอบอาชีพที่มีการต่อสู้ ขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงในการดำรงชีวิตเป็นเป้าหมายสำคัญ พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ
( การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน )
บ้านของฉันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชน ครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดังนี้
1.ฉันจะช่วยคุณพ่อและคุณแม่ปลูกผักไว้กินเอง ฉันไม่ใช้จ่ายเงินเกินความจำเป็น ไม่ใช้จ่ายสิ้นเปลือง เช่น การซื้อของที่ไม่จำเป็น พวกสิ่งของที่ไร้ประโยชน์ หาคุณค่าไม่ได้ เมื่อฉันไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยแล้ว เงินที่เหลือฉันก็เก็บ หยอดใส่กระปุก เพื่อเป็นการประหยัดภายในครอบครัว ไม่นำเงินไปใช้เกินวัยของตนเอง
2.คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง การใช้ไฟ อย่างประหยัด ใช้ให้รู้คุณค่า ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ หรือ ปิดน้ำให้สนิท น้ำที่เหลือจากการล้างผลไม้ อาหาร จะนำไปรดต้นไม้ และไฟ ฉันจะไม่เปิดไฟนอน และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าให้สนิท ด้วยการถอดปลั๊ก และเมื่อไม่อยู่บ้าน ฉันจะสำรวจว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างที่ยังไม่ได้ปิด ฉันก็จะปิดให้สนิท
3 .การหารายได้เข้าครอบครัว - ช่วยพ่อแม่ทำงาน เพื่อหารายได้เข้าครอบครัว และเมื่อหารายได้มาแล้ว จะไม่นำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่สุรุ่ยสุร่าย พร้อมทั้งทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อรู้การใช้จ่ายภายในครอบครัว เป็นการรู้ว่าภาวะทางการเงินภายในครอบครัวของฉันนั้น เป็นอย่างไรบ้างอะไรที่มันไม่จำเป็นหรือเป็นสิ่งที่ทำให้ครอบครัวของฉันนั้นต้องมาสิ้นเปลือง
4.ชีวิตในวัยเรียนของฉันนั้น ได้เริ่มปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวันนี้ เศรษฐีวันหน้า”
5.เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน คุณแม่รวมถึงฉัน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย 3 ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด เป็นต้น
6.คุณแม่ของฉันและฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดละความฟุ่มเฟือย
ครอบครัวของฉันรู้จักอยู่อย่างพอเพียงนั้น ทำให้ครอบครัวของฉันไม่ลำบาก มีชีวิตอยู่ดีกินดี และมีความสุข ไม่ต้องเดือดร้อนภายในครอบครัวอีกด้วย ถือได้ว่าการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของฉันและภายในครอบครัวของฉันนั้น ทำให้ฉันและครอบครัวใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุข
ฉันคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะดำเนินไปได้ดี ด้วยการ ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม ที่ขอให้อย่าลืมที่จะปฏิบัติในเรื่อง ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ปฏิบัติตนเป็นคนดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจ กันปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะติดเป็นนิสัยความพอเพียงไปตลอดชีวิต สามารถนำไปพัฒนาตน พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคม