บทที่4
ผลการทดลอง/วิจัยการวิเคราะห์ข้อมูล
จากาการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ คณะผู้จัดทำได้ทำการทดสอบการทำงานและประเมินคุณภาพของรถมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำ ผลการทดลองมีดังนี้
4.1 การทดสอบรถมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำ
1. การทดสอบศูนย์ล้อหน้าหลัง 2. การทดสอบระบบเบรก 3. การทดสอบระบบเกียร์ 4. การทดสอบคาร์บูเรเตอร์ 5. การทดสอบชุดผลิตไฮโดรคาร์บอน
4.1.1 การทดสอบศูนย์ล้อหน้าหลัง
ขั้นตอนการทดสอบศูนย์ล้อหน้าหลัง คือคณะผู้จัดทำได้ทดสอบศูนย์ล้อหน้าหลัง
โดยปรับขนาดบูทหลัง ให้ได้ขนาดพอดีกับแกนบูทวัดความยาว แล้วตั้งให้ตรงกับล้อหน้าที่สุด และดูที่โซ่ว่าตรงกับสเตอร์เครื่องยนต์ด้วย เมื่อปรับขนาดล้อหน้ากับล้อหลังตรงกันก็ยึดให้แน่น
แล้วลองขี่บนท้องถนน ผลการทดลองประสบผลสำเร็จไม่มีปัญหาอะไร
4.1.2 การทดสอบระบบเบรก
ขั้นตอนการทดสอบระบบเบรก คณะผู้จัดทำได้ทำดุมเบรกหลังใหม่ โดยเปลี่ยนสปริงให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ของเดิมเมื่อเบรกจะไม่ติดเพราะสปริงอ่อนเกิดไป และมีการขัดผ้าใบเบรกโดยใช้กระดาษทราย เพื่อให้การสัมผัสดีขึ้น จึงทำให้ระบบเบรก เบรกได้เหมือนรถปกติ
4.1.3 การทดสอบระบบเกียร์
การทดสอบระบบเกียร์ จะมีปัญหาในการเข้าเกียร์ตอนระยะแรก เพราะคันเกียร์เก่าและไม่สมบูรณ์จึงปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มโดยการซื้ออันใหม่ เพื่อให้การเข้าเกียร์สะดวกสบาย การทดลงพบว่า เกียร์มีทั้งหมด 3 เกียร์ มีเกียร์ 1 เกียร์ 2 เกียร์ 3 เป็นเกียร์แบบไม่วน เพราะเป็นเครื่องเก่า
ไม่เหมือนเครื่องในปัจจุบัน
4.1.4 การทดสอบคาร์บูเรเตอร์
การทดสอบคาร์บูเรเตอร์ ครั้งแรกใช้คาร์บูเรเตอร์ที่ติดมากับรถ พบว่ามีการแตกร้าวของคาร์บูเรเตอร์ จึงซื้อตัวใหม่มา ก็ต้องเปลี่ยนคอหรีดใหม่ และซื้อแป้นหมุน 360 องศามา
เพราะกรองจะชนกับบังโคลนหน้าพอดี จึงปรับคาร์บูเรเตอร์ให้หันหน้ากรองออกด้านข้างแทน
การทดสอบคาร์บูเรเตอร์ สามารถติดเครื่องได้ แต่รอบเดินเบาไม่เรียบ เพราะเป็นคาร์บูเรเตอร์เก่า
4.1.5 การทดสอบชุดผลิตไฮโดรคาร์บอน
การทดสอบชุดผลิตไฮโดรคาร์บอน ครั้งแรกจะผลิตได้น้อยเพราะเครื่องยนต์มี cc ต่ำมาก
แรงดันจากท่อไอเสียจึงมีน้อยแก้ไขโดย ใช้เหล็กแผ่นกลมขนาดพอดีกับปลายท่อเชื่อมปิด
แล้วเจาะรูใหม่ให้มีขนาดเล็กลง จึงมีแรงดันไปเป่าน้ำให้เกิดฟองอากาศ ทำให้เกิดไอน้ำได้ดี
4.2 ผลจากการทดสอบรถมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำ
การประเมินคุณภาพของรถมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำ
ที่ รายการ ผู้ประเมิน ค่าเฉลี่ย ความหมาย
1 2 3 4 5
1 ความสามารถในการขับขี่ 4 4 4 5 4 4.2 ดี
2 ชุดผลิตไฮโดรคาร์บอน 4 4 4 4 4 4.0 ดี
3 ความแข็งแรงของรถ 4 4 4 4 4 4.0 ดี
4 ความเหมาะสมของวัสดุ 4 4 4 4 4 4.0 ดี
5 การรับน้ำหนัก 4 4 4 4 4 4.0 ดี
6 ความปลอดภัยในการใช้งาน 5 4 4 4 5 4.4 ดี
7 ความสะดวกในการใช้งาน 5 4 4 4 4 4.2 ดี
8 ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง 4 4 5 4 4 4.2 ดี
ค่าเฉลี่ยรวม 4.2 ดี
ตารางที่ 4.1 แสดงผลการสอบถามการประเมินชิ้นงาน
ลำดับที่ น้ำมันเชื้อเพลิง ชุดผลิตไฮโดรคาร์บอน ความเร็ว km/ h ระยะทาง / km
1 1 ลิตร ไม่ได้ติดตั้ง 40-60 km/ h 62 km
2 1 ลิตร ติดตั้ง 40-60 km/ h 68.82 km
ตารางที่ 4.2 แสดงการทดสอบชุดผลิตไฮโดรคาร์บอน
การคิดเป็นเปอร์เซ็น
ขั้นตอนแรกนำ 68.82 มาลบกับ 62 เท่ากับ 6.82
วีธีทำ
6.82 X 100 = 11
62
คิดเป็น = 11%
เมื่อติดตั้งชุดผลิตไฮโดรคาร์บอน สามารถประหยัดได้ถึง 11%
4.3 การนำไปใช้งานและผลการทดลอง
ผลการทดลองและการนำไปใช้ประโยชน์ สามารถขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำได้ ถึงแม้จะดัดแปลงมากมาย และยังช่วยประหยัดเชื่อเพลิงได้ ถึงจะไม่มากเมื่อเทียบกับแก๊ส แต่ก็ใช้พลังงานความร้อนที่เสียไป นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสิ่งของต่างๆที่ใช้แล้ว หรือไม่ใช้มาดัดแปลงและปรับปรุงหรือทำขึ้นมาใหม่ สรุปได้ว่ารถมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำ สามารถนำไปใช้งานจริงได้
เพราะมอเตอร์ไซค์ใช้น้ำ ก็ไม่ได้มีแค่เครื่องนี้เครื่องเดี่ยว และยังมีผู้คนอีกมากมาย ได้มีการค้าคว้าวิจัยต่อเกี่ยวกับการใช้ไฮโดรคาร์บอน และเครื่องยนต์นำไปประยุกต์ใช้ทำแบบอื่นๆ ได้อีกมากมาย