ไม้กวาดตองกง(อุตรดิตถ์)
การทำไม้กวาดอำเภอลับแลสืบทอดมาตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยมีพระศรีพนมมาศซึ่งท่านเป็นชาวจีนต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอลับแล ครั้งหนึ่งพระศรีพนมมาศได้ลงไปกรุงเทพฯ พบกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ท่านได้หยิบใบไม้ (ใบของตองกง) จากเมืองจีนมาให้ดูเป็นตัวอย่าง (เมืองจีนใช้ทำไม้กวาด) เมื่อกลับมาลับแลเห็นมีต้นตองกงเยอะแยะท่านก็ให้ราษฎรตำบลฝายหลวง และตำบลแม่พูลบ้านหัวดงมาฝึกทำไม้กวาดกับท่านและให้นำไปเผยแพร่ต่อๆกันไป ท่านคัดเลือกไม้กวาดที่ชาวบ้านทำส่งไปถวายเจ้านายที่กรุงเทพฯเพื่อโฆษณาเผยแพร่สินค้าที่ผลิตที่เมืองลับแล หลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระศรีพนมมาศได้นำไม้กวาดขึ้นกราบทูลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ประกาศให้ชาวลับแลทำไม้กวาดเป็นการใหญ่จนเป็นสินค้าที่สำคัญที่มีความทนทานและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
ไม้กวาดอำเภอลับแลเกือบจะไม่มีคนรู้จักเพราะมีไม้กวาดจากหลายแห่งที่มีลักษณะที่คล้ายกัน ในปี 2531 บ้านท้องลับแลได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มทำไม้กวาดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานานเป็นเวลา ประมาณ 140 ปี ให้กลับมาเป็นที่รู้จักกันมากหลายกับคำที่ว่าไม้กวาดที่ดีที่สุดต้องเป็นไม้กวาดลับแล และเป็นการรวมตัวกันเพื่อลดต้นทุนการผลิตและต่อรองการตลาด
-หวายเส้น
-เทปพลาสติก
-ด้ามไม้ไผ่หรือด้ามหวาย
-ดอกตองกง(ดอกหญ้า)
(นำมาใช้ ปัด กวด ทำความสะอาด)