2. ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างมีความสุขคือ มีความสะดวกสบายความพึงพอใจความโล่งใจ ความไม่ถูกบีบค้นความสุขมีทั้งสุขแบบโลกคือสุขแบบคฤหัสถ์และสุขแบบธรรม คือ สุขที่เกิดจาก การบรรลุธรรม หรืออย่างน้อยเป็นสุขที่เกิดจากความเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ได้แก่
2.1 ความสุขของคฤหัสถ์เรียกว่า “คิหิสุข” หรือ “กามโภคีสุข 4” (Four kinds of happiness for a householder) ไดแก่
2.1.1 อัตถิสุข สุขเกิดจากการมีทรัพย์คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจที่ได้โภคทรัพย์ มาด้วยความขยันหมั่น เพียรของตนและโดยชอบธรรม การมีทรัพย์จะเป็นฐานเกื้อหนุนให้เพียบพร้อม ด้านความต้องการจา เป็นต่างๆ (Needs) มีปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เป็นต้น
2.1.2 โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่าตนได้ใช้ ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง และบา เพ็ญประโยชน์แก่ สาธารณะ
2.1.3 อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่าตนเป็น ไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใครไม่ต้องคอยวิตกกังวลฟุ้งซ่านว่าจะหาเงินที่ไหนมาปลดเปลืองหนี้สิน ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ดังพุทธพจน์ว่า “อิณาทาน ทุกฺขโลเก” (ความเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก)
2.1.4 อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจ ว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหายไม่มีช่องโหว่ให้ใครติเตียนได้ทั้งทางกายวาจาและ ทางใจคติพุทธศาสนาถือว่าอนวัชชสุขมีค่ามากที่สุดกว่าสุขทั้ง3ข้างต้น
2.2 ความสุขเกิดจากความสันโดษ (Contentment) สันโดษ แปลว่า ความยินดี ความพอใจ ความยินดีด้วยของของตน ซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรง ความเพียรโดยชอบธรรม ความรู้จักอิ่ม รู้จักพอความยินดีในสิ่งที่ตนมีตนได้สันโดษ (สันตุฏฐิ) มี3ประการคือ
2.2.1 ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ยินดีตามที่พึงได้คือ ตนได้สิ่งใดมา หรือ เพียรหาสิ่งใดมาได้เมื่อเป็นสิ่งที่ตนถึงได้ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตแค่ไหนก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้นไม่ติดใจอยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายเพราะสิ่งที่ตนไม่ได้ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่พึงได้ หรือเกินไปกว่าที่ตนพึงได้โดยถูกต้องชอบธรรม ไม่เพ่งเล็งปรารถนาของที่คนอื่นได้ไม่ริษยาเขา
2.2.2 ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกา ลัง คือ ยินดีให้พอเหมาะพอควรแก่ตนเอง ไม่ยินดีอยากได้เกินกำลังเกินฐานะอันตนพึงมีพึงได้โดยชอบธรรม ยินดีตามสิทธิประโยชน์ที่ตนพึงมี พึงได้
2.2.3 ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควรคือยินดีตามที่เหมาะสมกับตนอันสมควรแก่ฐานะ ภาวะแนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน ความสันโดษ หรือความยินดีความพอใจความรู้จักอิ่มรู้จักพอนั้นถือเป็นการสร้าง สุขให้แก่ตนเองวิธีหนึ่งคนที่ร่ำรวยที่สุดคือคนที่รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนเองมีคนที่จนที่สุดคือคนที่ไม่รู้จักพอโลกเรามีทรัพยากรมากมายเพียงพอที่จะจัดสรรให้พลโลกแต่ละคนมีกินมีใช้กินอิ่มนุ่งอุ่นกันทั่วหน้าทุกคน แต่ไม่เพียงพอแม้จะเอาทรัพยากรเหล่านั้น ทั้งหมดมารวมกันแล้วถมเพื่อเติมเต็มเพื่อดับ ความโลภของคนเพียงคนเดียวให้อิ่มได้ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ มหาสมุทรไม่อิ่มด้วยน้า ฉันใดคนโลภก็ ย่อมไม่อิ่มด้วยอามิสฉันนั้น n
3. ชีวิตควรอยู่อย่างมีการพัฒนา ชีวิตมนุษย์ต้องได้รับการพัฒนาด้วยการฝึกอบรมที่เรียกว่า สิกขา หรือการศึกษาคือการเรียนรู้เพื่อฝึกฝน พัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มากขึ้น ตามลำดับดังคำกลอนของพระธรรมโฆษาจารย์ดังนี้
เป็นมนุษย์หรือเป็นคน เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูง มีดีที่แววขน ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน ย่อมเสียทีที่ตน ได้เกิดมา “ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ” ถ้ามีครบ ควรเรียก “มนุสสา” (มนุษย์) เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา เปรมปรีดา คืนวันสุขสันต์จริงฯ