ประวัติความเป็นมาของมาลัย
1. ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับมาลัย
บรรพบุรุษของไทยเรา มีชื่อเสียงในงานด้านศิลปะการประดิษฐ์อย่างมากมาย โดยเฉพาะการประดิษฐ์ตกแต่งพวงดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ และวัสดุอื่น ๆ เป็นที่ขึ้นชื่อมานานแต่โบราณกาลแล้ว
ในสมัยรัตนโกสินทร์ทุกรัชกาล งานฝีมือด้านการประดิษฐ์ดอกไม้ เป็นที่นิยมนำมาประดิษฐ์ในงานต่าง ๆ แทบทุกงาน โดยเฉพาะงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมการทำดอกไม้เป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะมีงานพระราชพิธีใด ๆ เจ้านายฝ่ายในจะต้องประกวดกันจัดแต่งดอกไม้มาถวายให้ทรงใช้ในงานนั้น ๆ เสมอ สมเด็จพระพันปีหลวง ได้ทรงคิดร้อยมาลัยด้วยดอกไม้ต่างๆ และใช้ใบไม้แทรกนำ ทำให้มีลวดลายต่าง ๆ กันอย่างงดงาม และพลิกแพลงทำรูปต่าง ๆ กัน ในงานพระศพสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินมาตา ซึ่งเป็นพระมารดาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระองค์นี้ พระบรมศพประดิษฐานอยู่ ณ วังสะพานถ่าน (คือตลาดบำเพ็ญบุญเวลานี้) สมเด็จพระพันปีหลวงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ท้าววรคณานันท์ (ม.ร.ว. ปั้ม มาลากุล) จัดทำมาลัยไปประดับพระศพตลอดงานนี้ มาลัยที่ตกแต่งเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูป เปลี่ยนแบบเรื่อย ๆ มา จึงนับได้ว่าตั้งแต่บัดนั้นการร้อยมาลัยได้มีการวิวัฒนาการก้าวหน้ากว่าเดิมเป็นต้นมาหลายรูปแบบ และในระหว่างนั้น ท่านเจ้าคุณประยูรวงศ์ ก็ได้จัดทำมาลัยครุยขึ้นมา ท้าววรคณานันท์เป็นผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นเจ้าของมาลัยงามหลายแบบและความรู้ความชำนาญในเรื่องร้อยมาลัยนี้ก็ได้สืบต่อมาจนถึง ม.ล. ป้อง มาลากุล ผู้ซึ่งมีความสามารถในเรื่องการทำดอกไม้สดและดอกไม้แห้ง
2. ประโยชน์ของมาลัย
มาลัยแต่ละชนิด มีหน้าที่ใช้สอยต่าง ๆ กัน ตามโอกาสและความเหมาะสม ดังนั้น
2.1 ใช้สำหรับคล้องคอ เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าของงาน เช่น มาลัยบ่าว-สาว
2.2 ใช้สำหรับคล้องคอ เพื่อแสดงความยินดีหรือต้อนรับแขก
2.3 ใช้สำหรับคล้องคอ เพื่อแสดงความยินดีหรือเป็นเกียรติแก่ผู้มีชัยชนะในการประกวดต่าง ๆ
2.4 ใช้สำหรับคล้องคอ เพื่อแสดงความยินดีแก่ผู้มีชัยชนะในการแข่งขันต่าง ๆ
2.5 ใช้สำหรับมอบให้บุคคลผู้มีชื่อเสียง เพื่อเป็นการรับขวัญ
2.6 ใช้สำหรับทูลเกล้าฯ ถวาย ในการรับเสด็จฯ ในการเข้าเฝ้าตามโอกาสที่เหมาะสม
2.7 ใช้สำหรับมอบให้แก่ประธาน หรือแขกผู้ใหญ่
2.8 ใช้สำหรับเป็นของชำร่วยแก่แขกที่มาในงาน
2.9 ใช้สำหรับสวมคอในงานประเพณีพื้นบ้านของไทย
2.10 ใช้แขวนประตู หน้าต่าง หรือเพดาน แทนเครื่องแขวน
2.11 ใช้ห้องแทนเฟื่องดอกรัก
2.12 ใช้บูชาพระ
2.13 ใช้แขวนหรือประดับเครื่องดนตรีไทยในเวลาที่จะเล่น
2.14 ใช้ในการประกอบท่ารำของการรำไทยบางชุด
2.15 ใช้ในพิธีบวงสรวงเทพยดาต่าง ๆ
2.16 ใช้สำหรับตกแต่งรัดมวยผม
2.17 ใช้ประดิษฐ์เป็นดอกไม้สำหรับจัดแจกัน
2.18 ใช้ในการคารวะผู้ที่เคารพนับถือ
2.19 ใช้ในการประดับตกแต่งในงานดอกไม้สดต่าง ๆ
2.20 ใช้ในการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ในบางโอกาส เช่น รัดฐานพระพุทธรูป
2.21 ใช้แขวนห้อยหน้ารถ หรือหัวเรือ
2.22 ใช้ในการตกแต่งประดับเวที
เรื่อง การเลือกดอกไม้ ใบไม้ และอุปกรณ์ในการร้อยมาลัย
1. ดอกไม้สำหรับร้อยมาลัย
1.1 ชนิดของดอกไม้ ใบไม้ที่ใช้ร้อยมาลัย แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.1.1 ดอกไม้ที่ใช้ร้อยทั้งดอก ได้แก่
พุดตูม มะลิตูม พุทธชาด กล้วยไม้ ดอกรัก เล็บมือนาง เขี้ยวกระแต แพงพวยฝรั่ง ชบาหนู ประทัด ฯลฯ
1.1.2 ดอกไม้ที่ใช้กลีบร้อย ได้แก่
กุหลาบ บานบุรี หงอนไก่
1.1.3 ดอกไม้ที่ใช้วิธีกรอง คือ
นำดอกไม้มาเฉือนให้เท่ากันแล้วร้อย ได้แก่ บานไม่รู้โรย พิกุล แวนด้า
1.1.4 ใบไม้ที่ใช้ร้อยมาลัย ใบมะยม ใบแก้ว ใบกระบือ ใบโกสน ใบชบาด่าง ใบตองอ่อน กาบพลับพลึง ใบก้ามปู ใบขี้เหล็ก ฯลฯ
2. วิธีเก็บรักษาดอกไม้ และใบไม้
การเก็บดอกไม้จากต้น ควรเก็บในตอนเช้าตรู่หรือพลบค่ำจะทำให้ได้ดอกไม้สด
2.1 ให้ล้างด้วยน้ำแกว่งสารส้ม ใส่ตะแกรงเกลี่ยไว้ในที่ร่ม
2.2 ดอกกุหลาบ ตัดก้านเฉียงในน้ำด้วยกรรไกรคม ๆ เพื่อช่วยให้ก้านดูดน้ำได้มาก แล้วห่อด้วยใบตองแช่น้ำ วางไว้ในที่ร่ม อากาศโปร่งเย็น ไม่มีลมโกรก คอยพรมน้ำเสมอ
2.3 ดอกพุทธชาด ห่อรวมกันให้แน่น ๆ ใส่กระทงไว้ ไม่ต้องพรมน้ำ
2.4 ดอกเขี้ยวกระแต ห่อวางไว้ในที่เย็น
กบานไม่รู้โรย ไม่ต้องแก้มัด ตัดก้านให้เท่ากัน แช่ก้านในน้ำ พรมน้ำที่ดอก ใช้ผ้าขาวบางพรมน้ำให้ชุ่ม ปิดไว้
2.6 ดอกจำปี จำปา เด็ดเกสรข้างในออก ดอกจะไม่บาน ใส่กระทง พรมน้ำหรือใช้
ผ้าขาวบางพรมน้ำปิดไว้
2.7 ดอกกล้วยไม้ ไม่ควรพรมน้ำ เพราะจะทำให้ดอกเปลี่ยนสี
3. วิธีเก็บรักษาอุปกรณ์ในการร้อยมาลัย
3.1 เข็มร้อยมาลัย ใช้แล้วควรล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ทาด้วยน้ำมันวาสลิน
ห่อกระดาษไขแก้ว เพื่อไม่ให้เข็มเป็นสนิม
3.2 คีม เช็ดให้แห้ง ไม่ควรให้ถูกน้ำ เพราะทำให้เป็นสนิม
3.3 เครื่องฉีดน้ำ เทน้ำออก เช็ดให้แห้ง เพื่อไม่ให้เป็นตะไคร่น้ำ
3.4 น้ำมันวาสลิน ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้ง เพาะจะทำให้ไม่ละลายและใช้ได้นาน
เรื่อง หลักในการร้อยมาลัย
1. ความหมายของมาลัย
มาลัย หมายถึง ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้ ใบไม้ กลีบดอกไม้และส่วนต่าง ๆ ของดอกไม้ ใบไม้ ที่ร้อยได้ มาร้อยเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กันมากมายหลายแบบ ตั้งแต่เดิมจนถึงแบบสมัยใหม่ ซึ่งได้ดัดแปลงมาจากแบบดั้งเดิมนั้นเอง
2. ประเภทต่าง ๆ ของมาลัยได้
2.1 แบ่งตามหน้าที่ใช้สอย
2.1.1 มาลัยชายเดียว หมายถึง มาลัยที่มีลักษณะเป็นพวงกลม มีอุบะห้อยเป็นชายเพียงพวงเดียว ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า มาลัยมือ มาลัยข้อมือ หรือมาลัยคล้องแขน ก็ได้ ถ้าใช้ในการทูลเกล้า ถวาย ก็เรียกว่า มาลัยข้อพระกร มาลัยชายเดียวนี้ใช้
สำหลับคล้องแขนหรือบูชาพระ
2.1.2 มาลัยสองชาย หมายถึง มาลัยที่นิยมผูกต่อริบบิ้นหรือโบว์ทั้งสองชาย และมีอุบะห้อยชายมาลัย ทั้งสองพวงมาลับสองชายนี้ใช้สำหรับคล้องคอบุคคลสำคัญในงานนั้น ๆ ใช้แขวนหน้ารถหรือหัวเรือก็ได้ บางคนอาจเรียกมาลัยชนิดนี้ว่า มาลัยคล้องคอ ถ้าใช้คล้องคอเจ้าบ่าว เจ้าสาว ก็เรียกว่า มาลัยบ่าว-สาว
2.1.3 มาลัยชำร่วย หมายถึง มาลัยขนาดเล็ก น่ารัก กระจุ๋มกระจิ๋ม สำหรับมอบให้บุคคลจำนวนมาก เป็นของชำร่วย ตอบแทน การขอบคุณที่มาร่วมในงานนั้น ๆ
2.2 แบ่งตามรูปแบบของการร้อย
2.2.1 มาลัยซีก หรือเสี้ยว