สเต็ตโทสโคป
สเต็ตโทสโคป (Stethoscope) มีหน้าที่ช่วยหมอในการฟังเสียงจากภายในของร่างกาย โดยส่วนมากใช้ฟังเสียงจากปอด และชีพจรการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ก็ยังใช้ในการฟังเสียงจากลำไส้ และการไหลเวียนของเลือด ทั้งในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ
เต็ตโทสโคป ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ส. 1816 โดยผู้ที่คิดค้นและสร้างขึ้นมามีชื่อว่า นาย เรเน เลเน็ค เป็นนายแพทย์อยู่ที่ โรงพยาบาล Necker-Enfants Malades ในปารีส ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อไม้ ดูรูปร่างแล้วคล้ายกับเครื่องดนตรี ที่มีชื่อว่า ทรัมเปท เป็นอย่างมาก ปัจจุบัน สเต็ตโทสโคป ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญประจำตัวของหมอเลยทีเดียว เรามักจะเห็นหมอหลายท่านที่มีคนไข้มาตรวจรักษาโรคจำนวนมาก แขวนสเต็ตโทสโคป อยู่ติดกับคอ แทบจะตลอดเวลาที่ทำงาน สเต็ตโทสโคป มีหลายประเภท แบ่งเป็นแบบ อะคูสติก และ อิเล็กทรอนิค สเต็ตโทสโคปมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้คือ
1. ไดอะแฟรม คือส่วนที่แนบกับลำตัวผู้ป่วย เพื่อรับเสียงที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งเสียงนี้จะทำให้ไดอะแฟรมเกิดการสั่นสะเทือน
2. ท่อนำเสียง คือส่วนที่เป็นสายยางนำเสียงส่งต่อไปยังหูฟัง
3. หูฟังคือส่วนที่แนบอยู่กับหูของนายแพทย์ เพื่อรับฟังเสียงที่ส่งมาจากไดอะแฟรม