เมื่อพูดถึงคำว่าการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายท่านอาจจะมีคำถามอยู่ในใจว่าแล้วที่ให้การบริการทุกวันนี้ไม่เป็นการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์หรือการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์คืออะไร แล้วจะทำอย่างไร การทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือผู้ให้บริการเป็นการทำงานกับคนที่มีชีวิต มีกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม จิตวิญญาณ ชีวิตที่ต้องมีการดำรงชีพ ทำมาหากิน มีครอบครัวและสังคมที่อยู่รอบข้างเป็นชีวิตที่ต้องมีภาระรับผิดชอบชีวิตที่มีทั้งความทุกข์ ความสุข และที่สำคัญเป็นชีวิตที่มีโรคอยู่ด้วย ดังนั้นเขาจึงต้องคิดทุกเรื่องในชีวิต ว่าเขาจะใช้ชีวิตอย่างไรให้อยู่กับโลกที่ต้องมีการดำรงชีพ และอยู่กับโรคที่เป็นการเจ็บป่วยให้ได้ เขาต้องแก้ปัญหาและใช้ชีวิตอยู่ให้ได้ตามสภาพความเป็นจริงเขาต้องคิดอะไรจะเหมาะสมและพอดีกับชีวิตตนเองภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของชีวิตซึ่งการตัดสินใจและทาสิ่งต่างๆตาม มาตรฐานชีวิตของตนเอง มีหลายๆเรื่องของเขาซึ่งเรามักไม่เข้าใจ เพราะเรามักคิดและตัดสินเขาบนความคิดของเรา โดยใช้มาตรฐานวิชาการตามกรอบความคิดของเรา เมื่อไหร่ที่เขาทำไม่เหมือนที่เราให้คำแนะนำหรือตามวิชาความรู้ที่เรียนมา เราก็มองว่าไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการคิดคนละฐานความคิดและคนละมุมมอง ซึ่งเป็นช่องว่างที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ
การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นการให้บริการ ที่สอดคล้องกับบริบทชีวิต โดยคำนึงถึงเงื่อนไขข้อจำกัดของผู้รับบริการผู้ให้บริการต้องประยุกต์ใช้ความรู้ให้สอดคล้องกับบริบทชีวิตโดยให้ข้อมูลทางเลือกแก่ผู้รับบริการอย่างเพียงพอ และดึงศักยภาพของผู้รับ บริการมาร่วมในการตัดสินใจและแก้ปัญหา ให้บริการด้วยความเข้าใจชีวิตจริงของผู้รับบริการบนความแตกต่างของแต่ละบุคคล จึงจะเป็นการบริการแบบองค์รวม และยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
เพราะชีวิตของชาวบ้าน เขาคิดทุกอย่างแบบองค์รวม เขาคิดมากกว่าเรื่องสุขภาพกับความเจ็บป่วย เขาคิดเรื่องการดำรงชีพ ความเป็นอยู่ การทำมาหากินและเงื่อนไข