1.หากำลังใจ กำลังใจจากคนรอบข้างถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีความพยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ได้ คุณควรบอกให้คนใกล้ชิดทราบถึงความตั้งใจดังกล่าว
2.ต้องมีเป้าหมาย เป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ คุณควรรู้ว่าจะทำไปเพื่อใคร หากคิดว่าอยากสูบบุหรี่ขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ขอให้คุณย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าที่เลิกนั้นเพื่ออะไร เช่น เพื่อคนที่คุณรักและคนรอบข้าง เพื่อเก็บเงินในการสร้างอนาคต หรือเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ฯลฯ แต่บางคนอาจถึงขนาดสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพกันเลยทีเดียว แต่เชื่อไหมว่ามันเลิกได้จริง !
3.เตรียมใจยอมรับ คุณควรค้นหาสาเหตุที่แท้จริงที่เป็นตัวกระตุ้นให้คุณสูบบุหรี่ เพื่อจะได้กับสาเหตุอย่างถูกวิธี เช่น สูบเพราะเครียด อยากเข้ากับเพื่อน งานเลี้ยง ดื่มเหล้า หรือเป็นแค่ความเคยชินหลังมื้ออาหาร ฯลฯ และต้องทำความเข้าและยอมรับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลิกบุหรี่ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด ง่วงเหงาหาวนอน เป็นต้น พร้อมกับให้กำลังใจตัวเองว่าอาการเหล่านี้มันจะผ่านไปได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน
4.ต้องวางแผน คุณควรวางแผนการปฏิบัติตัว โดยกำหนดวันที่จะเลิกสูบบุหรี่ โดยเลือกเป็นวันสำคัญต่าง ๆ ของครอบครัว เช่น วันเกิดตัวเอง วันเกิดลูกหรือคนในครอบครัว วันครบรอบแต่งงาน วันสำคัญทางศาสนา แต่ทั้งนี้ไม่ควรกำหนดวันที่ห่างไกลมากจนเกินไป หรือเป็นวันที่คุณมีภาระต้องรับผิดชอบ เช่น ช่วงสอบ ช่วงที่ต้องไปกินเลี้ยงหรือมีงานสังคม เพราะอาจมีแรงจูงใจทำให้ไม่สามารถเลิกได้ตามที่ตั้งใจไว้ หรือคุณอาจสร้างพิธีกรรมเล็ก ๆ สำหรับวันส่งท้ายด้วยการนำบุหรี่ที่เหลือมาเผาไฟต่อหน้าพร้อมกับกระดาษที่เขียนถึงโทษของการสูบบุหรี่สำหรับวันแรกของการเลิกบุหรี่
5.เลิกในทันที – หักดิบ (Cold turkey) การเลิกขาดในทันทีจะได้ผลชะงัดกว่าการลดปริมาณการสูบ วิธีนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการให้ผู้ติดบุหรี่เลิกสูบในทันทีโดยไม่ต้องมีการใช้ยาหรือความช่วยเหลือใด ๆ โดยทั่วไปวิธีนี้อาการขาดนิโคตินจะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ช่วงนี้อาจจะทนทรมาน และลำบากใจสุด แต่ก็ต้องอดทน ผ่านไปได้โอกาสเลิกได้ก็เป็นไปได้สูง อาการไม่สบายตัวต่าง ๆ ก็จะหายไป แต่ยังไงก็ยังดีกว่าทรมานอย่างช้า ๆ ด้วยวิธีการลดปริมาณลงเรื่อย ๆ จริงไหม ?