มลพิษทางดิน(Soil Pollution or Land Pollution)
มลพิษทางดินหมายถึงดินที่เสื่อมค่าไปจากเดิมและหรือมีสารมลพิษเกินขีด
จำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจน การเจริญเติบโต
ของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
ปัญหามลพิษของดินเกิดขึ้นจากการทำลายหรืการเกิดการถดถอยของ
คุณภาพหรือคุณลักษณะของสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ที่เกิดจากมลสาร
(Pollutant) ที่ก่อให้เกิดมลภาวะดินเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กสามารถ
ฟุ้งกระจายไปในอากาศดินจะมลสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ
ซึ่งความรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับจะขึ้นกับว่าอนุภาคดินนั้นมีองค์ประกอบอย่างไร
สภาพทางอุตุนิยมวิทยาสภาพพื้นที่เป็นต้นในกรณีที่คล้ายคลึงกันหากอนุภาค
ดินถูกพัดพาไปยังแหล่งน้ำดินที่เป็นมลสารจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ
โดยตรงทั้งทางคุณภาพและปริมาณอีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาโดยอ้อมเมื่อ
อนุภาคดินนั้นมีธาตุอาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชน้ำก่อให้เกิด
ภาวะขาดออกซิเจนในแหล่งน้ำสัตว์น้ำในแหล่งน้ำนั้นได้รับผลกระทบเกิด
กลิ่นเหม็นของก๊าซไข่เน่า (hydrogen sulfide, H2S)
อันตรายจากมลพิษทางดิน
1. อันตรายต่อมนุษย์
มนุษย์จะได้รับพิษของสารประกอบไนเทรต ไนไทรต์ในยาปราบศัตรูพืช
จากน้ำดื่ม น้ำใช้ในแหล่งเกษตรกรรมและจากผลผลิตทางการเกษตรเช่น
ผักผลไม้จนถึงระดับที่เป็นพิษต่อร่างกายได้
2. อันตรายต่อสัตว์
สัตว์ที่หากินในดินจะได้รับพิษจากการสัมผัสสารพิษในดินโดยตรงและ
จากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษปะปนอยู่สารพิษที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็น
ยาฆ่าแมลงที่นอกจากจะทำลายศัตรูพืชแล้วยังทำลายศัตรูธรรมชาติซึ่งเป็น
ปรสิตไปด้วยทำให้เกิดการระบาดของแมลงบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อพืช
ในภายหลังหรืออาจเกิดการทำลายแมลงที่ช่วยผสมเกสรดังนั้นผลผลิต
อาจลดลงได้
3. อันตรายต่อพืชและสิ่งมีชีวิตในดิน
พืชจะดูดซึมสารพิษเข้าไป ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ ผลผลิตต่ำ หรือ
เกิดอันตราย และการสูญพันธุ์ขึ้น แบคทีเรียที่สร้างไนเทรตในดิน หากได้รับ
ยาฆ่าแมลง เช่น ดีลดริน อัลดรินและคลอเดนที่มีความเข้มข้น100พีพีเอ็ม
จะทำให้กระบวนการสร้างไนเทรตของแบคทีเรียได้รับความกระทบกระเทือน
ได้รับการกระทบกระเทือน
สาเหตุการเกิดมลพิษทางดิน
1. การใช้ปุ๋ยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรแบ่งได้เป็น 2
กลุ่มใหญ่ คือ ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุหลักสำคัญของพืช ได้แก่
ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโพแตสเซียม(K)เมื่อใช้ติดต่อกันเป็น
เวลานานจะทำให้ดินเปรี้ยว มีสภาพความเป็นกรดสูงไม่เหมาะสมแก่
การปลูกพืชทั้งนี้อาจมีปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ การเพาะปลูกที่
ไม่ถูกวิธีทำให้ดินเกิดการเสื่อมโทรม หรืออาจเกิดจากธรรมชาติเป็น
ผู้ทำลายทรัพยากรดินได้
2. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticides) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมี
ฤทธิ์ทำลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ให้ประโยชน์หรือโทษ
ต่อการเกษตรกรรม แม้แต่ผลกระทบต่อมนุษย์ด้วย สารเคมีที่สลายตัว
ได้ช้าจะตกค้างในดิน เช่นสารประเภทคลอริเนเตตไฮโดรคาร์บอนหรือ
ออร์กะโนคลอรีน (organochlorine) เป็นสารประกอบที่ด้วยอะตอม
คลอรีน (Cl) ได้แก่ ดีดีที (DDT) ที่ใช้ในการเพาะปลูกการควบคุมการ
แพร่ระบาดของมาลาเรีย และการควบคุมแมลงอื่นๆ, ดิลดรีน (dieldrin)
ที่ใช้ในกำจัดแมลงในการเกษตรและ กำจัดปลวก, อัลดรีน (aldrin) ที่ใช้ใน
การเพาะปลูก กำจัดปลวกและแมลง การสะสมของสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรู
พืชต่างๆ จะทำให้เกิดมลพิษทางดินต่อไป
3. การปล่อยให้น้ำเสียจากกระบวนการผลิต น้ำเสียส่วนใหญ่ที่มาจาก
กระบวนการเหล่านี้จะเกิดการชะล้างผ่านสารเคมีต่างๆ ในอุตสาหกรรม
เช่น สารพีซีบี (PCB) ที่ใช้ในการผลิตสีและพลาสติก สารเอชซีบี (HCB)
ที่ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์
4. การทิ้งขยะ มลพิษทางดินส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งขยะที่เกิดจากสาร
เคมีซึ่งยากต่อการย่อยสลายเช่น กระป๋อง เศษโลหะ และพลาสติก
ขยะเหล่านี้จะสะสมในดินจนทำให้เกิดภาวะมลพิษทางดินนอกจากนี้
ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นหากไม่มีการกำจัดที่ถูกวิธีจะส่งผลกระทบให้เกิด
มลพิษทางดินมากขึ้น