การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค โดยใช้หลักฐานที่ว่าในอดีตเหล็กที่เกิดปนอยู่กับแร่อื่นๆ (ก่อนที่จะมีการแข็งตัวกลายเป็นหิน) จะมีการเรียงตัวในรูปแบบที่เกิดจากหารเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กโลกขณะนั้น ต่อมาเมื่อเกิดจากแข็งตัวเป็นหิน เหล็กนั้นจะมีสมบัติคล้ายเข็มทิศที่ถูกเก็บฝั่งอยู่ในเนื้อหนเป็นระยะเวลานาน เมื่อนำตัวอย่างหินซึ่งทราบตำแหน่ง (พิกัด) ที่เก็บ มาวัดหาค่ามุมเอียงเทของชั้นหิน วัดค่าความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งคำนวณหาค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะได้ข้อมูลเบื้องต้นของภาวะแม่เหล็กในอดีตกาล เช่น ทิศทาง ความเข้มของสนามแม่เหล็กในสมัยนั้น เป็นต้น เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเขียนกราฟ จะสามารถหาค่าภาวะแม่เหล็กโบราณได้ ค่าต่างๆ เหล่านี้ถูกนำมาแปลความหมาย และคำนวณหาตำแหน่งดั้งเดิมของพื้นที่ในอดีตเพื่อยืนยันการเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปต่างๆ ได้
จากหลักฐานต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าทำให้นักธรณีวิทยาได้แนวคิดเกี่ยวกับโลกว่า จริงๆ แล้วโลกไม่เคยคงสภาพหยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใช้เวลายาวนานกว่า 250 ล้านปี มีผลให้พื้นผิวโลกชั้นธรณีภาคแบ่งออกเป็นแผ่นธรณีภาคขนาดต่างๆ มากกว่า 10 แผ่น ทุกแผ่นกำลังเคลื่อนที่
นักธรณีวิทยาแบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือแผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทร ซึ่งทั้ง 2 ประเภทรวมกันมีจำนวน 13 แผ่น ดังภาพ 2.6 แผ่นธรณีภาคเหล่านี้มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา นักเรียนศึกษาแผ่นธรณีภาคบริเวณต่างๆ ของโลกได้จากกิจกรรม 2.2
กิจกรรม 2.2 ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค
1. สังเกตแผ่นธรณีภาคบริเวณต่างๆ จากภาพ 2.6
2. สังเกตลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ สัญลักษณ์ที่แสดงลักษณะการเคลื่อนที่บนขอบแผ่นธรณีภาค ชื่อ และจำนวนแผ่นธรณีภาค
3. ตัดรอยภาพตามรอยต่อแผ่นธรณีภาค
4. ทดลองเคลื่อนที่แผ่นธรณีภาคคู่ใดคู่หนึ่งตามแนวลูกศรโดยให้การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคไปตามสัญลักษณ์ แล้วสังเกต บันทึก ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแนวของแผ่นธรณีภาค
5. สังเกตและศึกษาลักษณะภูมิประเทศจากแผนที่โลกเพื่อนำมาประกอบภาพตัดต่อ
6. สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผ่นธรณีภาคจากวีดิทัศน์ และเอกสารต่างๆ
7. รวบรวมข้อมูล อภิปรายและสรุปความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคแล้วนำเสนอข้อมูลทั้งหมด