คุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดในการป้องกันกำจัดโรค แมลงศัตรูพืช
(เพื่อผลิตสมุนไพรป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช สูตร พด.7)
ชนิดสมุนไพร เพื่อใช้ป้องกันกำจัดแมลง
หางไหล หนอนกินช่อ เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง เพลียจั๊กจั่น
ขมิ้นชัน มด แมลงวันทอง ด้วงเจาะเมล็ด ด้วงงวงข้าว มอดข้าวเปลือก หนอนกระทู้ ไรแดง
สบู่ต้น หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแปะใบ หนอนกระทู้ ไรแดง
ตะไคร้หอม แมลงวัน เพลี้ยอ่อน ไร มด มอด หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนหลอด ราน้ำค้าง
กระเทียม มด แมลงวันทอง หนอนกระทู้ ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
ใบ/เมล็ดน้อยหน่า แมลงวันทอง ด้วงงวง ด้วงปีกแข็ง หนอนกระทู้ หนอนชอนใบ บุ้ง มอดแป้ง เพลี้ยต่างๆ
ยาสูบ / ยาฉุน เพลี้ย ไร รา ดวงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนกะหล่ำ หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนกระทู้
พริกสด ด้วงงวง มวนปีกแข็ง โรคจากไวรัสทุกชนิด ขับไล่แมลง ฆ่าหนอน
ใบแก่มะรุม (รองก้นหลุม) ราในดิน รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า (แตง,ฟัก) เน่าคอดิน แง่งขิงเน่า
สาบเสือ หนอนกระทู้ หนอนใย เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น
สมุนไพร : สารสกัดป้องกันกำจัดแมลง สมุนไพรกำจัดหนอน
เปลือก/ใบซาก ใบ/เมล็ดน้อยหน่า เมล็ดมันแกว เปลือกต้นไกรทอง เถาวัลย์ยาง เถาบอระเพ็ดเถาวัลย์แดงต้นส้มเช้า หัวขมิ้นชัน เมล็ดลางสาด ใบแก่ดาวเรือง ชะพลู พลูป่า กานพลู
ฝักคูณแก่ ลูกยี่โถ ใบมะสินรก หัวกลอย ใบหนามขี้แรด ผล / เมล็ดฟักข้าวสาบเสือ เมล็ดสะเดา หัวไหล เทียนหยด หางไหลขาว / แดง หนอนตายหยาก
ใบยอ ยาสูบ ลูกสลอด มะกล่ำตาหนู เมล็ด / ใบ / ต้นสบู่ต้น
สมุนไพรไล่แมลง
ตะไคร่หอม/แกง สาบเสือ ผล/ใบมะกรูด กระเทียม ต้น/ใบยาสูบ สะระแหน่
ใบ / เมล็ดน้อยหน่า ใบมะระขี้นก หางไหลขาว/แดง ใบคำแสด เปลือกว่านหางจระเข้ ข่า
ใบ / เมล็ดต้นสบู่ต้น เมล็ดแตงไทย ขิง ดีปลี ดอกตองตึง พริกไทย
กระชาย พริกสด ใบ/ดอก/ผลลำโพง ใบมะเขือเทศ ปะทัดจีน ยี่หร่า ทุเรียนเทศ
ใบผกากรอง ใบยอ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง เมล็ดโพธิ์ ดอกแคขาว ดอกเฟื่องฟ้า
กลีบดอกชะบา ดอกยี่โถ มะกรูด ว่านน้ำ ใบ/ดอกดาวเรือง โหระพา
สมุนไพรกำจัดโรค ( รา แบคทีเรีย ไวรัส )
ว่านน้ำ กระเทียม เปลือกมังคุด ลูกตาลสุก ใบมะรุม ลูกมะเกลือ
ลูกหมากสด เปลือก/ผลสดมะม่วงหิมพานต์ เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค ใบยูคาลิปตัส
หัวไพล เปลือกงวงกล้วย ลูกกล้วยอ่อน สบู่ต้น ลูกอินทนิลป่า ลูกตะโก
ใบ/ผลมะกรูด เปลือกว่านหางจระเข้ สาบเสือ ต้นกระดูกไก่ชะพลู กานพลู หัวขมิ้นชัน
ต้นเทียนหยด ใบหูเสือ พริกสด รากหม่อน ต้นแสยะ ใบมะเขือเทศหน่อไม้สด สะระแหน่ ลูกกะบูร โหระพา ยางมะละกอ ขึ้นฉ่าย
หญ้าดอกขาว เหง้ามหาหงส์ เปลือกต้นประดู่ ตะไคร้หอม / แกง ลูกยอสุก
สมุนไพรสูตรรวมมิตร ( ป้องกันกำจัดหนอน / แมลง / โรค )
สาบเสือ ใบ/เล็ดน้อยหน่า หัวกลอย ตะไคร้หอม ใบ/เปลือกซาก ลูกตาลสุก ว่านน้ำ เปลือกมังคุด ผล/ใบมะกรูด หนอนตายหยาก หางไหล ปะทัดจีน บอระเพ็ด ละหุ่ง ขมิ้นชัน ชะพลู กาก/เมล็ดสบู่ดำ สบู่ต้น ขอบชะนาง ยี่โถ ใบยาสูบ ดีปลี พริกไทย ขิง ข่า กระเพรา กระเทียม ดาวเรือง
หางจระเข้ แสยก พริกสด กะบูร เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค งวงกล้วย สะเดา
สมุนไพรเฉพาะโรคแมลงศัตรูพืช
เพลี้ยไฟ : หางไหล สะเดา ยาสูบ ยาฉุน สาบเสือ ตะไคร้หอม / แกง ใบดาวเรือง กระเทียม ข่า พริก ดีปลี
แมลงหวี่ขาว : ใบ/เปลือกซาก ใบ/เมล็ดน้อยหน่า กระเทียม พริก มะกรูด ขึ้นฉ่าย ตะไคร้หอม / แกง
หมัดกระโดด : (ทางใบ) ตะไคร้หอม / แกง ขิง ข่า พริก ใบ/เปลือกซาก ใบ/เมล็ดน้อยหน่า หางไหล หนอนตายหยาก (ทางดิน) สะเดา ใบแก่ / เมล็ดน้อยหน่า ตะไคร้หอม / แกง ใบยาฉุน
เพลี้ยอ่อน : ใบ/เปลือกซาก ใบ/เมล็ดน้อยหน่า สะเดา ยาสูบ ยี่หร่า หาง ไหล
เพลี้ยแป้ง : ใบ/เปลือกซาก ใบ/เมล็ดน้อยหน่า ยาสูบ ยาฉุน สะเดา บอระเพ็ด ตะไคร้หอม / แกง สาบเสือ
ผลเน่า : ต้นกระดูกไก่ ว่านน้ำ ตะไคร้หอม กระเพรา โหระพา ใบยูคาลิปตัส
ไส้เดือนฝอย : สะเดา ละหุ่ง ใบยูคาลิปตัส สาบเสือ แขยง เลื่อน ปะทัดจีน ใบดาวเรือง ตะไคร้หอม
รากเน่าโคนเน่า/เน่าคอดิน : เปลือกมะม่วงหิมพานต์ เทียนหยด ใบมะรุมแห้ง กระเทียม ผิวมะกรูด รากหม่อน
โรคเหี่ยว : เปลือกเงาะ ขึ้นฉ่าย ใบมะรุมแห้ง ว่านน้ำ กระเทียม
โรคใบจุด : ว่านน้ำ กระเทียม ใบกระดูกไก่ ลูกปะคำดีควาย เปลือกมะม่วงหิมพานต์
ยาฆ่าหญ้าจากหน่อไม้และน้ำหมักชีวภาพสูตรสมุนไพร
วิชัย ทองไพรวัน หมอดินอาสา หมู่ 6 ต.วังคัน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
ส่วนผสม หน่อไม้สดหรือหน่อไม้ดอง(ปอกเปลือกแล้ว) 30 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรีย 30 กก. กากน้ำตาล 15 กก. น้ำหมักชีวภาพสูตร พด.2 10 ลิตร เกลือ 10 กก. น้ำ 60 กก. (จะได้ยาฆ่าหญ้า 100 ลิตร)
วิธีทำ ละลายกากน้ำตาล ในน้ำ ปุ๋ยยูเรีย กากน้ำตาล เกลือ และน้ำหมักชีวภาพสูตร พด.2 จากนั้นนำหน่อไม้ที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ มาหมักกับวัสดุดังกล่าวและคนบ่อยๆ จนย่อยสลายทั้งหมด (ประมาณ 1 เดือน)
อัตราและวิธีการใช้ ใช้ยาฆ่าหญ้าสูตรสมุนไพร อัตรา 3-5 ลิตร / น้ำ 200 ลิตร ร่วมกับยาฆ่าหญ้าทั่วไป โดยลดอัตรายาฆ่าหญ้าลง 30-50 % ฉีดพ่นเพื่อกำจัดวัชพืชที่ยัง ตามปกติ ในวันที่มีแสงแดด และก่อนที่ฝนจะตกอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เป็นการประสิทธิภาพการฆ่าหญ้า(กำจัดวัชพืช) มากขึ้น ดินจะร่วนซุยมากขึ้น
พริกแกงเผ็ด/พริกแกงป่าป้องกันกำจัดแมลง
กำจัด ช้างเขียว หมอดินอาสา ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ใช้ปัองกันและกำจัดแมลงประเภทหนอน แมลงกินใบ เช่น หนอนคืบ หนอนกินใบ แมลงหวี่ขาว หมักกะโดด เพลี้ยไฟ ด้วงงวง ป้องกันโรคจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสบางชนิด แทนสารเคมี โดยที่ใช้พริกแกงที่ใช้พริกขี้หนูชนิดเผ็ดมาก (ถ้าซื้อราคา 60-100 บาท/กก.) ตำให้ละเอียดๆ แล้วกรองกากออกเพื่อป้องกันหัวฉีดอุดตัน
อัตราการใช้ พริกแกงเผ็ด/พริกแกงป่า 2-3 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อปัองกันและกำจัดแมลง เชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส เมื่อแมลงหรือโรคระบาด