ตามหลักฐานพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ปรากฏว่า พระยาภักดีชุมพล หรือ เจ้าพ่อพญาแล เดิมเป็นคนเวียงจันทร์ ชื่อ “ท้าวแล” รับราชการอยู่ในวังทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงราชบุตรของเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์
ในราวปีพุทธศักราช ๒๓๖o แต่จะเป็นเพราะเหตุใดไม่ปรากฏ ทำให้ท้าวแลออกจากราชสำนัก แล้วอพยพครอบครัวและรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณร้อยกว่าคนเศษ เดินทางมาจากเมืองเวียงจันทร์ ข้ามแม่น้ำโขงที่เมืองชัยบุรี เพราะเป็นที่ตื้นเขิน สะดวกในการลำเลียผู้คนและเสบียงอาหาร เดินทางมาถึงหนองบัวลำภู ได้พำนักอยู่ ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลาหนึ่งเดือนเศษ ท้าวแลเห็นว่าหนองบัวลำภูเป็นสถานที่ที่ยังไม่เหมาะสมที่จะตั้งถิ่นฐานจึงได้อพยพครอบครัวพร้อมด้วยพรรคพวกเดินทางต่อไปหาที่อยู่แห่งใหม่ถึงบ้านน้ำขุ่น หนองอีจาน ลำตะคลอง ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาได้ประกอบอาชีพอยู่ที่แห่งนี้ ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๒ การประกอบอาชีพที่บ้านน้ำขุ่น หนองอีจาน ลำตะคลอง เริ่มฝืดเคือง ท้าวแลได้เสาะแสวงหาทำเลแห่งใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปรากฏว่าได้พบที่แห่งใหม่ที่โนนน้ำอ้อมปัจจุบันอยู่ในท้องที่บ้านชีลอง ตำบลชีลอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ท้าวแลเป็นผู้มีความสามารถ ซื่อสัตย์ สุจริต และมีบุคลิกลักษณะพิเศษกว่าบุคคลอื่นๆ จึงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า โดยใช้การปกครองในลักษณะพี่ปกครองน้อง สั่งสอนให้มีความสามัคคี ปรองดอง ต้องช่วยกันทำมาหากิน โดยให้เหตุผลว่าการสร้างบ้านสร้างเมืองนั้นราษฎรจะต้องมีอยู่มีกินและเป็นสุข การสร้างเมืองจะถือว่าสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความวิริยะอุตสาหะ คุณงามความดีของผู้เป็นหัวหน้า ท้าวแล จึงรวบรวมผู้คน ได้ ๑๒ หมู่บ้าน ในขณะนั้น คือ ๑. บ้านสัมพันธ์ ๒.บ้านบุ่งคล้า ๓.บ้านกุดตุ้ม ๔.บ้านบ่อหลุม ๕.บ้านบ่อแก ๖.บ้านท่าเสี้ยว ๗.บ้านโพธิ์ ๘.บ้านโพธิ์นาล้อม ๙.บ้านโพธิ์หญ้า ๑o.บ้านหนองใหญ่ ๑๑.บ้านหลุบโพธิ์ ๑๒.บ้านกุดไผ่ ปัจจุบันบางบางหมู่บ้านได้เปลี่ยนชื่อไปแล้วก็มี ชาวบ้านในครั้งนั้นจึงยกย้องเชิดชูให้ท้าวแล เป็นหัวหน้านำผู้ปกครองในขณะนั้น ฝ่ายนางบุญมีผู้เป็นภรรยาของท้าวแล หรือ เจ้าพ่อพญาแล ก็มิได้นิ่งดูดายได้พยายามฝึกอบรมชาวบ้านให้รู้จักทอผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าขาว ผ้าดำ ผ้าซิ่นหมี่ จนชาวบ้านเข้าใจในการทอผ้าทำให้ชาวบ้านมีอยู่มีกิน เจ้าพ่อพญาแลเห็นว่าราษฎรของตนมีอยู่มีกินก็มิได้ลืมบุญคุณของเจ้านายเดิม จึงได้รวบรวมเครื่องบรรณาการนำไปถวายเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ ทรงเห็นความดีความชอบของเจ้าพ่อพญาแลจึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพ่อพญาแล หรือท้าวแล เป็น “ขุนภักดีชุมพล”
ต่อมา ขุนภักดีชุมพล (แล) เห็นว่าบ้านโนนน้ำอ้อมเริ่มฝืดเคือง แออัด ขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีผู้คนเพิ่มมากขึ้น ไม่เหมาะสมที่จะตั้งเมืองใหญ่ จึงได้หาที่แห่งใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่าที่แห่งใหม่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งไม่ห่างไกลนักจากบ้านโนนน้ำอ้อม
ในพุทธศักราช ๒๓๖๕ ขุนภักดีชุมพล (แล) จึงได้อพยพครอบครัว รวมทั้งพรรคพวกไปตั้งถิ่นฐานแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะตั้งเมืองใหญ่ เรียกชื่อบ้านที่ตั้งใหม่ว่า “บ้านหลวง” ปัจจุบันเป็นชุมชนหนองปลาเฒ่าและหนองหลอด ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ณ ที่แห่งนี้ ชื่อเสียงกิตติศักดิ์ คุณงามความดี ของขุนภักดีชุมพล (แล) เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป จนมีผู้คนให้ความเคารพและอพยพเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวกเพิ่มมากขึ้น จนเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เกิดความสงสัยว่า ขุนภักดีชุมพล (แล) อาศัยความชาญฉลาดทูลให้เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์หายสงสัยได้ ต่อมาขุนภักดีชมพล (แล) และชาวบ้านไปพบบ่อทองคำบริเวณเชิงเขาขี้เถ้าตะวันออกภูเขาดงพญาฝ่อที่ลำห้วยชาด จึงได้เรียกที่ตรงนั้นว่า “บ่อทองโข่โล่” ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และได้เกณฑ์ชายฉกรรจ์ทั้งปวงไปช่วยขุดหาทองคำได้พอสมควร
ต่อมา ขุนภักดีชมพล (แล) ไม่ยอมส่งส่วยให้ทางเวียงจันทร์อีก เพราะเห็นว่าเวียงจันทร์ก็เป็นประเทศราชประเทศสยาม ขึ้นต่อกรุงเทพฯ ตั้งแต่ราชกาลที่ ๑ แล้วจึงเข้าหาเจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมา อาสาส่งส่วยเก็บผลเร่งทูลเกล้าให้ทางกรุงเทพฯ ถวายในราชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหลวงขึ้นเป็น ”เมืองชัยภูมิ” ตั้งให้ขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น “พระยาภักดีชุมพล (แล)” เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก (ไม่ปรากฏวันเดือนปี แต่เข้าใจว่าเกิดกบฏเวียงจันทร์ พ.ศ. ๒๓๖๙ เล็กน้อย) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ พระยาภักดีชมพล (แล) ก็นำเครื่องบรรณาการไปถวายสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้โปรดรับสั่งกับพระยาภักดีชุมพล (แล) ว่าให้ตั้งใจปฏิบัติราชกาลปกครองรักษาบ้านเมืองไว้ให้ดี ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เมื่อเห็นว่าพระยาภักดีชุมพล (แล) ตีตัวออกห่าง จึงเริ่มคิกก่อการกบฏ มีการซ่องสุมผู้คน เสบียงอาหารและอาวุธ ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ นี้เอง เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ และราชบุตร (โย้) ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้าหมายตีกรุงเทพฯ โดยหลอกหัวเมืองต่างๆ ว่าที่เดินทัพผ่านมาเข้ามาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ยึดเมืองนครราชสีมาได้
ต่อมาเมื่อความแตกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้กวาดต้อนผู้คนชาวเมืองนครราชสีมาเพื่อนำกลับไปเวียงจันทร์ เมื่อถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองนครราชสีมาที่ถูกจับ ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ ฝ่ายพระยาภักดีชุมพล (แล) พร้อมด้วยชาวเมืองสี่มุม (อำเภอจัตุรัสในปัจจุบัน) ได้ยกทัพออกไปช่วยคุณหญิงโมรบกับเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์แตกพ่ายในขณะที่กองทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ล่าถอยจากนครราชสีมาได้จุดไฟเผาบ้านเมือง กองทัพทั้งเหนือและใต้รู้ชัดว่า เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์คิดกู้อิสรภาพจากไทย ไม่มีทางจะสู้แล้วจึงสั่งให้เจ้าสุทธิสาร (โป๋) ผู้เป็นราชบุตรยกกำลังส่วนหนึ่งล่าถอยจากนครราชสีมา ให้ไปยึดเมืองชัยภูมิ เมืองภูเขียว อันเป็นด่านสุดท้ายไว้เป็นกำลังต