หากมีการสร้างขึ้นจริงจะทำให้เกิดผลกระทบในหลายๆด้านทั้งด้านดีและด้านเสียในที่นี้จะกล่าวถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่ตามมา อาทิเช่น ด้านการใช้ประโยชน์จะขนส่งได้ทั้งคนและสินค้า สำหรับการขนส่งสินค้าจะเพิ่มศักยภาพในการขนส่งด้วยระบบรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ สินค้าไปรษณียภัณฑ์เร่งด่วน และสินค้าที่ขนส่งทางอากาศ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง ราคาสูงและเน่าเสียง่าย การขนส่งสินค้าเกษตรมีความคล่องตัวรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งระบบรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว จะมีเป้าหมายที่แข่งกับการเดินทางโดยทางอากาศเป็นหลัก โดยทั่วไป อัตราค่าโดยสารของระบบรถไฟความเร็วสูง จะใกล้เคียงกับอัตราค่าโดยสารทางอากาศ (ต่ำกว่าประมาณร้อยละ 10-20) และสำหรับการเดินทางในระยะทางที่รถไฟความเร็วสูงไม่ช้ากว่าเครื่องบินจนเกินไป รถไฟความเร็วสูงจะมีข้อได้เปรียบการเดินทางโดยทางอากาศหลายประการเช่น ความรวดเร็วในการเดินทาง ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความตรงต่อเวลา และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ ที่สำคัญไม่ต้องรอขึ้นเครื่องเหมือนเครื่องบิน โดยสารที่ต้องเดินทางก่อนล่วงหน้า 45-60 นาที ก่อนเครื่องออก ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย ส่วนเวลาที่ใช้ในการเดินทางระหว่างรถไฟความเร็วสูงและเครื่องบินของประเทศในภูมิภาค พบว่ารถไฟความเร็วสูง (กรณีความเร็วสูงสุดเท่ากับ ๓๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)จะสามารถได้ส่วนแบ่งจากการเดินทางทางอากาศดังนี้สิงคโปร์๑๐% กัวลาลัมเปอร์๓๐% ปีนัง ๗๐%
โฮจิมินซิตี้๘๕% พนมเปญ ๙๐% ย่างกุ้ง ๗๕% และเวียงจันทน์๙๐% นอกจากนี้สําหรับการเดินทาง ภายในประเทศจะสามารถได้ส่วนแบ่งจากการเดินทางทางอากาศในเส้นทางสายหลัก ดังนี้เชียงใหม่ ๘๕% ภูเก็ต ๘๕% และหาดใหญ่ ๘๐% จากข้อมูลเหล่านี้ความเป็นไปได้ที่การลงทุนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค จะมีความคุ้มทุนค่อนข้างสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมบทบาทของรถไฟในศตวรรษใหม่ ในการเป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยสูง และบทบาทในการสนับสนุนระบบการขนส่งระหว่างรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดความประหยัดและมีประสิทธิภาพในการขนส่งยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการหาลู่ทางในการแบ่งเบาความแออัด และดึงดูดผู้โดยสารที่ใช้รถของบริษัทขนส่ง จํากัด (บขส.) หรือเครื่องบิน ให้หันกลับมาใช้บริการของรถไฟให้ได้มากขึ้น และที่สำคัญเส้นทางรถไฟจะนําประเทศไปสู่ความเจริญ และการเปนศูนย์กลางของการคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวางรากฐานการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว ส่งเสริมสภาพแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีข้ึน เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ อันยาวไกลของการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศในศตวรรษใหม่นี้จึงเป็นสิ่งที่จะต้องนํามาดําเนินการให้เปนรูปธรรมต่อไป