Ayutthaya law
สมัยอยุธยาสังคมมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้นกว่าสมัยสุโขทัย สมัยนี้ปรากฏร่องรอยการรับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียค่อนข้างชัดเจน รวมทั้งกฎหมาย กฎหมายแม่บทในสมัยอยุธยาคือ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์มีที่มาจากอินเดียตามความเชื่อในศาสนาฮินดู โดยอยุธยารับผ่านมาทางมอญ ซึ่งนับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกัน คัมภีร์พระธรรมศาสตร์นี้คงเข้ามาสู่ดินแดนไทย ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยแต่หลักฐานการนำมาใช้ปรากฏชัดเจนสมัยอยุธยา
หลักการใหญ่ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์กำหนดมูลคดีเป็น 2 ประเภท คือ มูลคดีแห่งผู้พิพากษาและตระลาการ 10 ประการ เป็นกฎหมายแม่ บทเกี่ยวกับอำนาจศาลและวิธีพิจารณาความ มูลคดีวิวาท 2 ประการ เป็นกฎหมายแม่บทที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่เกิดกรณีพิพาทต่อ กัน รวมเป็นมูลคดีทั้งสิ้น 39 ประการ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์กำหนดให้พระมหากษัตริย์นำมูลคดีทั้ง 39 ประการเป็นหลักในการบัญญัติสาขาคดีต่างๆ โดยสาขาคดีที่บัญญัติขึ้นนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับหลักการในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์
กฎหมายในสมัยอยุธยายังจำแนกกฎเกณฑ์เป็นพระไอยการหรือพระอัยการเฉพาะเรื่อง เช่น พระอัยการลักษณะผัวเมีย พระอัยการลักษณะวิวาทตีด่ากัน พระอัยการในสมัยอยุธยา หมายถึงกฎหมายพื้นฐานของแผ่นดิน ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติตามและหากมีปัญหาเกี่ยวกับพระอัยการ พระมหากษัตริย์ซึ่งมีหน้าที่ให้ความยุติธรรมจะต้องมีพระราชวินิจฉัย พระราชวินิจฉัยในแต่ละคดีเรียกว่า “พระราชบัญญัติ” พระราชบัญญัติ แต่ละมาตราจะอ้างมูลคดีเดิมเสมอ โดยทั่วไปพระราชบัญญัตินี้ใช้รัชกาลเดียวเท่านั้น ถ้าสิ้นรัชกาลพระราชบัญญัติก็เลิกไป แต่ถ้ากษัตริย์องค์ใหม่นำมาใช้ต่อก็จะเรียกใหม่ว่า “พระราชกำหนด”
The Penal Code, Luang กฎหมายลักษณะอาญาหลวง คือ กฎหมายที่มีไว้ลงโทษผู้กระทำความผิดที่เป็นข้าราชการที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่หรือใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางมิชอบซึ่งเป็นการลงโทษที่รุ่นแรงและโหดร้ายกับผู้ที่กระทำความผิดมากเกินไปทำให้กฎหมายนี้นั้นถูกยกเลิกไปในภายหลังเนื่องจากชาวต่างประเทศที่ได้เข้ามาค้าขายในเมืองอยุธยานั้นเมื่อตนทำผิดกลัวที่จะถูกลงโทษแบบที่คนในเมืองอยุธยานั้นโดนทำให้ชาวต่างชาตินั้นบีบให้อยุธยานั้นไม่ให้ลงโทษชาวต่างชาติที่มาค้าขายในไทยเช่นนั้นแต่ชาวต่างชาติที่มาค้าขายในเมืองอยุธยาเมื่อทำผิดแล้วก็ให้ไปขึ้นศาลของเขาเองซึงเป็นเหตุให้ชาวต่างชาตินั้นเข้ามาสร้างศาลของเขาในประเทศไทยทำให้ไทยนั้นเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเพราะไม่สามารถลงโทษผู้ที่กระทำผิดด้วยตัวของตัวเองได้
เหตุที่ไม่ชอบกฎหมายลักษณะอาญาหลวงเนื่องจากมีความรุ่นแรงมากเกินไปทำเหมือนมนุษย์ไม่ใช่มนุษย์ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ไปและยังทำให้ชาวต่างชาติที่มาค้าขายในประเทศนั้นมองประเทศเราไม่ดีเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ทำให้ชาวต่างชาตินั้นกดดันให้เรานั้นยกเลิกกฎหมายนี้ไม่ให้ใช้กับพวกเขาซึงทำให้ไทยนั้นเสียสิทธิไปเพราะกฎหมายนี้ดังนั้นผมจึงไม่ชอบกฎหมายลักษณะอาญาหลวงเพราะหากเราทำผิดในสมัยนั้นเราก็จะถูกทำโทษอย่างรุนแรง