3. ปรับสภาพอาหาร หรือสภาวะแวดล้อมของอาหารให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญของจุลินทรีย์และสาเหตุอื่นๆ
จุลินทรีย์เมื่อปนเปื้อนอยู่ในอาหาร จะมีระยะการเจริญโดยระยะแรกเป็นระยะปรับตัว ช่วงนี้การเพิ่มจำนวนจะช้า
เพราะจุลินทรีย์ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม เมื่อผ่านระยะนี้ไปได้ จะเข้าสู่ระยะเพิ่มจำนวน ซึ่ง
จุลินทรีย์จะมีการเพิ่มจำวนขึ้นอย่างรวดเร็วแบบ logarithmic จนมีจำนวนมากพอที่จะเป็นสาเหตุให้อาหารเสื่อมเสีย หรือทำให้
เกิดโรคอาหารเป็นพิษ หลังจากผ่านช่วงนี้ไปได้ จะเป็นระยะคงที่ อัตราการเพิ่มจำนวนและการตายของ
จุลินทรีย์จะเท่าๆ กัน เนื่องจากจุลินทรีย์มีปริมาณมาก เริ่มสร้างของเสีย สารพิษ ทำให้สภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม ทำให้ปริมาณ
จุลินทรีย์คงที่ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะการตาย ซี่งจำนวนจุลินทรีย์เริ่มลดจำนวนลงอัตราการตายมากกว่าการเพิ่ม
จำนวน เนื่องจากมีสารพิษสะสมมากขึ้น
หากจุลินทรีย์อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญ เช่น มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์ มีน้ำเพียงพอ บรรยากาศ และอุณหภูมิ
ที่พอเหมาะ ทำให้ระยะปรับตัวสั้นลง เข้าสู่ระยะการถนอมอาหาร ทำได้ด้วยการปรับสภาพอาหาร หรือ สภาวะแวดล้อมของอาหาร
ให้ไม่เหมาะสมกับการเจริญของจุลินทรีย์เป็นการยืดระยะปรับตัวให้ยาวนานขึ้น
การปรับค่า pH ของอาหาร เช่น การเติมกรด หรือการหมักให้เกิดกรด ซึ่งกรดที่สร้างขึ้นจากจุลินทรีย์ในระหว่างการหมัก เช่น
lactic acid, acetic acid จะไปยับยั้งจุลินทรีย์ชนิดอื่นไม่ให้เจริญ
water activity, aw ด้วยการลดปริมาณน้ำในอาหารด้วย dehydration การทำให้
concentration หรือใส่ตัวถูกละลาย เช่น เกลือ หรือน้ำตาล เพื่อเพิ่ม osmotic pressure ของ
อาหารซึ่งวิธีการที่นิยมใช้ ได้แก่ การดอง or salt curing หรือการกวน การเชื่อม การแช่อิ่ม ด้วยน้ำตาล
ที่มีความเข้มข้นสูง
การลดอุณหภูมิ
การกำจัดอากาศหรือกำจัดออกซิเจน เช่น vacuum packaging และ controlled atmosphere packaging หรือ modified atmosphere packaging