นักบุญเปโตร ซีมอน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3 ;ยน.1:44 ) ต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม ( มก. 1: 21,29 ) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซูเจ้า ( ยน. 1:42 ) และอาจเป็นนักบุญยอห์น แบปติสต์ที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่าน สำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับองค์พระเยซูเจ้า พระเยซูเจ้าได้ทรงเปลี่ยนชื่อท่านและทรงเรียกท่านด้วยชื่อใหม่ว่า “เปโตร” (มธ. 16: 17-19) เพื่อทำหน้าที่เป็นศิลาพื้นฐานในตัวบุคคลของท่านเองที่พระองค์จะทรงสร้างคริสตจักรไว้นักบุญเปโตร เป็นพยานบุคคลแรกๆผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ ( ยน. 20:6 ) และได้รับการประจักษ์มาขององค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ( ยน. 21:1-2 ) หลังจากที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน ( กจ. 1: 15 ; 15:7 ) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) ( กจ. 2:14-41 ) และท่านเองเป็นคนแรกที่ได้แลเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดพระศาสนจักรไปสู่คนต่างชาติ ( กจ.10-11 )ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคน หรือจากข้อบกพร่องต่างๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41 ; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31 ) นักบุญเปาโลเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใด ที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองอันติโอก ( กจ.15; กท. 2:11-14 ) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบชาวยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่านักบุญเปโตร ยังตัดสินใจช้า และยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนา ก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว ( กจ. 6: 1-2 ) ต่อเมื่อนักบุญ เปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครธรรมทูตของทุกๆคน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น “ศิลาหัวมุม” ของพระศาสนจักรของพระเยซูเจ้า โดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน
ในไม่ช้า หลังจากนี้ กษัตริย์เฮรอดได้จำคุกนักบุญเปโตร พระองค์ได้ประหารชีวิตนักบุญยากอบ(องค์ใหญ่) และตั้งพระทัยไว้ว่าพระองค์จะทำกับนักบุญเปโตรเช่นเดียวกัน แต่พระเป็นเจ้าได้ทรงปลดปล่อยท่านอย่างมหัศจรรย์ โดยส่งเทวดาองค์หนึ่งมาช่วยท่านหนีออกจากคุก เพื่อนักบุญเปโตรจะได้ดำเนินงานแพร่ธรรมต่อไปอย่างร้อนรน ด้วยการเทศนาและทำให้คนกลับใจ หลังจากงานแพร่ธรรมได้ผลิดอกออกผลเป็นเวลา 6 ปี หัวหน้าอัครสาวกได้เดินทางไปกรุงโรม เมืองหลวงของอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่ ท่านได้เดินทางบนบกข้ามน้ำข้ามทะเล และมาถึงปอร์ต้า ปอร์ติส ใจกลางของโลกที่ไม่เชื่อถือพระเจ้า มีสัตบุรุษกลับใจจำนวนหนึ่ง ตั้งรกรากอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ในการเบียดเบียนศาสนาครั้งแรก เขาทั้งหลายถูกขับไล่ออกจากกรุงเยรูซาเล็ม คริสตชนเหล่านี้ได้มาต้อนรับท่าน และนักบุญพริสซีเลียได้พาท่านไปอยู่กับครอบครัวของเธอ ซึ่งมีสมาชิกทุกคนเป็นนักบุญ ต่อมาจักรพรรดิเนโร แห่งโรม ได้สั่งทหารให้จับนักบุญเปโตรขังคุก ท่านได้ดำเนินการเทศนาต่อไปถึงแม้ว่าท่านติดอยู่ในคุก และได้ทำให้ผู้คุมกลับใจ พระเป็นเจ้าได้ทรงจัดหาน้ำให้ท่าน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการประกอบพิธีรับศีลล้างบาป โดยให้น้ำพุเป็นฟองผุดขึ้นมาจากพื้นดินในห้องขัง คริสตชนชาวโรมได้อ้อนวอนหัวหน้าอัครสาวกให้หนีออกจากคุก ในที่สุดแผนการของเขาทั้งหลายได้ประสบความสำเร็จ คนได้หย่อนท่านลงจากกำแพงคุกและท่านก็รีบเดินทางไปยังปอร์ตาคาปิน่า ขณะหลบหนี ท่านได้พบพระเยซูเจ้ากำลังแบกไม้กางเขนของพระองค์ จึงเอ่ยถามว่า “พระเจ้าข้า พระองค์เสด็จไปที่ไหน?” “เราไปโรม ถูกตรึงกางเขน อีกครั้งหนึ่ง เพื่อท่าน” นักบุญเปโตรได้เข้าใจน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ท่านต้องกลับไปโรมทนทุกข์ทรมานเพื่อฝูงแกะของท่าน ณ จุดนั้นได้มีการสร้างวัดเล็กๆหลังหนึ่ง ชื่อว่า “โควาดิส” เพื่อระลึกถึงการประจักษ์ของพระเยซูเจ้าครั้งนั้น
เมื่อกลับถึงโรม ท่านถูกขังคุกและโบยตี ในที่สุดนักบุญเปโตรได้ให้พรอำลาฝูงแกะของท่าน โดยเฉพาะนักบุญเปาโล ผู้ซึ่งกำลังจะโดนตัดศีรษะในวันเดียวกันนอกกรุงโรม แล้วทหารพาท่านขึ้นไปบนยอดเขาวาติกัน สถานที่สำหรับประหารชีวิต ท่านจะต้องตายถูกตรึงบนไม้กางเขน ท่านคิดว่าตัวท่านไม่สมควรตายแบบเดียวกับพระอาจารย์ ท่านได้ขอร้องนายทหาร ตรึงกางเขนท่านเอาศีรษะลงและเท้าชี้ฟ้า คำขอร้องของท่านได้รับอนุมัติ พระสันตะปาปาองค์แรกและผู้แทนพระคริสตเจ้าบนแผ่นดินนี้ ได้รับรางวัลชั่วนิรันดรในสวรรค์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ในปี 67 รวมทั้งพระสันตะปาปา 31 องค์แรกต้องหลั่งโลหิตเพื่อพิทักษ์รักษาพระศาสนจักร ซึ่งเป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบต่อจากอัครสาวก
พระเยซู (Jesus) ทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่และทรงเรียกว่า ” เปโตร ” ซึ่งแปลว่า ” ศิลา” (มธ. 16 : 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า ” ท่านคิดว่าเราเป็นใคร ” และเปโตรได้ทูลว่า” พระองค์คือพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเป็นเจ้า ” พระเยซูจึงตรัสว่า ” เราจะตั้งท่านเป็นหัวหน้าแทนเรา ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรแห่งเมืองสวรรค์”(มธ. 16 : 15-19) สัญญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ
นักบุญ เปโตร เป็นพยานบุคคลแรกๆผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ ( ยน. 20:6 ) และได้รับการประจักษ์มาขององค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ( ลก. 23:34 )หลังจากที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน ( กจ. 1: 15 ; 15:7 ) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) ( กจ. 2:14-41 ) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดพระศาสนจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ ( กจ.10-11 ) ภ ารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่างๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ ( มธ.10: 41 ; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31 ) นักบุญเปาโล (Saint Paul) เองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองอันติโอก (Antioch) ( กจ.15; กท. 2:11-14 ) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่านักบุญ เปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว ( กจ. 6: 1-2 ) ต่อเมื่อนักบุญ เปโตร ได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครธรรมทูตของทุกๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วน