บริษัทที่ฉันไปฝึกงานมา คือบริษัทปูนซิเมนต์ไทย แก่งคอย จำกัด
ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของฉันเอง
ระยะเวลาในการฝึกงานตั้งแต่วันที่15มิถุนายน ถึง 29 กรกฎาคม 2015 รวมทั้งสิน 33วัน
วันนี้ฉันจะมาอธิบายเกี่ยวกับ กรรมวิธีผลิตปูนซิเมนต์
กรรมวิธีการผลิตปูนซิเมนต์ จำแนกได้เป็น2วิธี ได้แก่ กรรมวิธีการผลิตแบบเปียก และกรรมวิธีผลิตแบบแห้ง โดยที่กรรมวิธีการผลิตแบบแห้ง เป็นวิธีที่ทันสมัยกว่า
เพราะเป็นวิธีที่ใช้พลังงานความร้อนต่ำกว่า จึงช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการเผาได้ดีกว่า และยังสามารถควบคุมองค์ประกอบทางเคมีของปูนซิเมนต์ได้ง่ายกว่า จึงทำให้ได้ปูนซิเมนต์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอมากกว่ากรรมวิธีการผลิตแบบเปียก
ขั้นตอนการผลิตปูนซิเมนต์ แบ่งได้เป็น5ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1.การทำเหมืองและการเตรียมวัตถุดิบ เริ่มจากการจัดหาและคัดเลือกวัตถุดิบชนิดต่างๆ ทำเหมืองหิน ขนส่งวัตถุดิบมาย่อยให้มีขนาดเล็กลง และเก็บไว้ในโกดัง
2.การบดวัตถุดิบ คือการป้อนวัตถุดิบเข้าสู่หม้อบดวัตถุดิบ แล้วบดออกมาและรอการผลิตต่อไป
3.การเผาปูนเม็ด คือการป้อนวัตถุดิบสำเร็จที่เตรียมไว้ลำเลียงเข้าสู่ preheater แล้วส่งต่อไปยังเตาเผา โดยเราจะเผาที่อุณหูมิสูงสุดประมาน 1450 องศาC จนได้ปูนเม็ดออกมา จากนั้นปูนเม็ดจะถูกทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว เพื่อไล่ความร้อนออกให้หมดและทำให้ปูนเม็ดออกมาไม่มีความชื้น
4.การบดปูนซิเมนต์ คือเราจะลำเลียงปูนเม็ดเข้าสู่หม้อบดปูนซีเมนต์ ในระหว่างกระบวนการบดนั้นจะมีการเติมยิปซั่มในปริมาณเล็กน้อย บดจนได้ปูนซิเมนต์ที่มีความละเอียดตามต้องการ ตามสูตรทางเคมีที่ทางบริษัทคิดไว้
5.การบรรจุและการขนส่งปูนซิเมนต์ คือการลำเลียงปูนซีเมนต์เก็บไว้ในไซโล เพื่อรอการบรรจุและการขนส่งต่อไป
ช่วงที่ฉันไปฝึกงาน ฉันได้รับมอบหมายให้ทำโปรเจคในหัวข้อ การปรับปรุงไซโลเพื่อควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสำเร็จให้อยู่ในเกณฑ์ที่โรงงานได้ตั้งไว้ หรือเรียกอีกอย่างว่า การลดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนถึงเตาเผา ซึ่งทุกคนอาจจะงงว่าไซโลคืออะไร ไซโลคือถังเก็บวัตถุดิบและผสมวัตถุดิบต่างๆให้เข้ากัน โดยจะมีการควบคุมค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่ให้มากเกินได้