จากเนื้อเรื่องมีหลักปรัชญาสอดแทรกอยู่ในบทบาทของตัวละครต่างๆ อย่างชัดเจน เริ่มต้นจาก หลักปรัชญาฮินดู ได้แก่ ระบบชนชั้นวรรณะ ซึ่งถือได้ว่าระบบชนชั้นวรรณะเป็นหลักปรัชญาที่เด่นชัดที่สุดของปรัชญาฮินดู ซึ่งหมายความว่า ระบบชนชั้นวรรณะต่างๆ เป็นตัวกำหนดหน้าที่ของคนที่อยู่ในวรรณะนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจน ว่าควรทำอะไรบ้าง ซึ่งในหนังแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า คุณครูมีหน้าที่สอนหนังสือให้นักเรียนมีความรู้อย่างเต็มที่ เป็นคนดี เรียนจบก็มีงานทำ ถ้าเปรียบเทียบในสังคมปัจจุบัน การที่ทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเอง เป็นก้าวแรกของการรับผิดชอบตนเอง ก่อนที่จะรับผิดชอบผู้อื่น ขยายกว้างไปถึงสังคม คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม ส่วนนักเรียนมีหน้าที่ที่จะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ฟังและปฏิบัติตามสิ่งที่ครูได้อบรมสั่งสอนหรือตักเตือนและควรเก็บเกี่ยวความรู้จากครูให้เต็มที่เพื่อที่จะได้มีความรู้ไว้ใช้ในอนาคต ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในฐานะไหน ชนชั้นอะไร เมื่อมีหน้าที่เป็นของตนเอง ก็ควรทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยไม่ยุ่งเกี่ยวหน้าที่ของผู้อื่น จะสามารถช่วยลดความขัดแย้งในการทำงานหรือการทำหน้าที่ต่างๆและยังทำให้ประเทศชาติอยู่อย่างสงบสุข การทำหน้าที่ยังสอดคล้องกับหลักในหลักอาศรม 4 คือ อาศรม หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดู เฉพาะที่เป็นพราหมณ์วัยต่างๆ โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการไว้ชีวิตไว้ 4 ตอน ตอนละ 25 ปี ยกตัวอย่างจากหนังสั้นในเรื่อง เช่น
นักเรียนที่อยู่ในวัยพรรมจรรย์มีหน้าที่ ศึกษาหาความรู้และตั้งใจเรียนตรงกับอาศรมในหลักที่ 1
พรหมจารี เป็นขั้นตอนของเด็กชายตระกูล พราหมณ์ทุกคน จะต้องรับการคล้องด้าย ศักดิ์สิทธิ์ จากอาจารย์ พิธีคล้องด้ายศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า “ยัชโญปวีต” เมื่อได้รับการคล้องแล้ว เท่ากับประกาศตนเป็นพรหมจารี ถือว่าเป็น พราหมณ์ โดยสมบูรณ์ จากนั้น จะต้องศึกษา อยู่ในสำนักของอาจารย์จนสำเร็จการศึกษา
( พิธีเริ่มการศึกษาเพื่อเป็นพราหมณ์ด้วยการคล้องสายสิญจน์
ที่เรียกว่ายัชโญปวีต ถ้าเป็นพราหมณ์ทำเมื่ออายุ 5 ขวบ กษัตริย์ 6 ขวบ แพศย์ 8 ขวบ แต่วรรณะศูทรห้ามเข้าพิธีนี้)