โครงงานการทำแหนมจากเห็ดนางฟ้า
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะอาอาหารเป็นปัจจัย 4 ที่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกต้องการมากที่สุดในแต่ละวัน อาหารมีมากมายหลายประเภททั้ง ต้ม แกง ทอดผัด นึ่ง ย่าง ฯลฯ ในปัจจุบันอาหารมีการถูกพัฒนาให้มีหลากหลายรูปแบบ ด้วยการพัฒนาการด้านโภชนาการของมนุษย์ มีการแปรรูปอาหารหรือวัตถุดิบให้น่ารับประทานมากขึ้น
“ เห็ด” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมรับประทาน การรับประทานเห็ดสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ที่สำคัญเห็ดมีราคาไม่แพงสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด อาทิเช่น เห็ดฟาง เห็ดโคน เห็ดเข็มทอง เห็ดหูหนู และเห็ดนางฟ้า
เมื่อคนไทยนิยมปลูกเห็ดกันมาก การนำเห็ดมาแปรรูปให้เป็นอาหารที่แปลก ๆ จึงเป็นที่น่าสนใจมาก ดังนั้นโครงงานเรื่องนี้ จึงเป็นโครงงานที่นำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปเป็นแหนม เพราะสามารถเก็บไว้กินได้นานหลายวัน หากมีขั้นตอนการทำให้สะอาด ถูกหลักอนามัย
วัตถุประสงค์การทำโครงงาน
1. เพื่อเป็นการนำเห็ดนางฟ้าที่มีมาก นำมาแปรรูปเป็นแหนมที่อร่อย ถูกหลักอนามัย
2. เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3. เพื่อฝึกพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ในด้านการประกอบอาหาร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แหนมที่ทำจากเห็ดนางฟ้าที่อร่อย สะอาด และน่ารับประทาน ถูกหลักอนามัย
2. ได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3. ได้มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการประกอบอาหาร และสามารถพัฒนาไปยังอาหารชนิดอื่นได้อีก
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เห็ด
เห็ด เป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากธรรมชาติ ที่มีวิวัฒนาการมาจากการประสานเส้นใยจำนวนมากของเชื้อราชั้นสูง และถึงแม้เห็ดจะขาดกรดอะมิโนบางตัวไปบ้าง แต่ในเรื่องของรสชาติและเนื้อสัมผัสนั้น รับรองว่าเห็ดไม่เป็นรองใครในยุทธจักรอาหารอย่างแน่นอน ที่สำคัญเห็ดยังให้คุณค่าทางโภชนาการและมีสรรพคุณทางยา ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัลไซเมอร์ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
เห็ดจัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เมื่อเทียบกับผักอีกหลายชนิด อีกทั้งยังมีรสชาติและกลิ่นที่ชวนรับประทาน ซึ่งรสชาติที่โดดเด่นนี้ มาจากการที่เห็ดมีกรดอะมิโนกลูตามิคเป็นองค์ประกอบ
โดยกรดอะมิโนตัวนี้ จะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอาหารของลิ้นให้ ไวกว่าปกติ และทำให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ นอกจากนี้เห็ดยังอุดมไปด้วยวิตามิน
โดยเฉพาะวิตามินบีรวม (ไรโบฟลาวิน) และไนอาซิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร
ในส่วนของเกลือแร่ เห็ดจัดเป็นแหล่งเกลือแร่ที่สำคัญ โดยมีเกลือแร่ต่างๆ เช่น ซิลิเนียม ทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โปแตสเซียม ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ สมดุลของน้ำในร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทต่างๆ ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ และอัมพาต ส่วนทองแดง ทำหน้าที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของธาตุเหล็ก และที่สำคัญ เห็ดมีองค์ประกอบของพฤกษเคมีที่ชื่อว่า “โพลีแซคคาไรด์”(Polysaccharide) จะทำงานร่วมกับ
แมคโครฟากจ์ (macrophage) ซึ่งเป็นเซลล์คุ้มกันขนาดใหญ่ ที่ออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อและจะไป จับกับโพลีแซคคาไรด์ที่บริเวณกระเพาะอาหาร และนำไปส่งยังเซลล์คุ้มกันตัวอื่นๆ โดยจะช่วยกระตุ้นวงจรการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมและช่วยเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพของเซลล์คุ้มกันธรรมชาติ ให้ทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงพวกไวรัสและแบคทีเรียอื่นๆ ด้วย
เห็ดที่มีปริมาณสารโพลีแซคคาไรด์สูง คือ เห็ดหอมหรือเห็ดชิตาเกะ เห็ดนางรม เห็ดหูช้าง และเห็ดกระดุม เป็นต้น และเห็ดอื่นๆ ที่นิยมนำมารับประทาน ได้แก่ เห็ดหลินจือ เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดกระดุมหรือแชมปิญอง เห็ดโคน และเห็ดเข็มทอง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เห็ดเป็นยาได้อีกด้วย ซึ่งสรรพคุณทางยาของเห็ดมีมากมาย
เช่น ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ตับ และระบบไหลเวียนของโลหิต เนื่องจากชาวจีนจัดเห็ดเป็นยาเย็น เพราะมีสรรพคุณช่วยลดไข้ เพิ่มพลังชีวิต ดับร้อนใน แก้ช้ำใน บำรุงร่างกาย ลดระดับน้ำตาล และคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด ลดความดัน ขับปัสสาวะ ช่วยให้หายหงุดหงิด บำรุงเซลล์ประสาท รักษาอาการอัลไซเมอร์ และที่สำคัญ คือ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ประโยชน์ทางการแพทย์ของเห็ดชนิดต่างๆ มีดังนี้
1. เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง พอๆ กับยีสต์
มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต
นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด
ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”
2. เห็ดหูหนู
เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต
3. เห็ดหลินจือ
มีสารสำคัญ เบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
4. เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง
รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด
โดยสารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนใน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
5. เห็ดน